งานประชาสัมพันธ์ / กิจกรรม

 
 
ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดยโสธร
1.1 ความเป็นมา

            เมืองยโสธร เป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟ เป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า 200 ปี ยโสธรมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภูนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้ว บัวบาน และเกี่ยวพันกับเมืองอุบลฯ ในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร ได้พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จากยุคประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ชุมชนโบราณส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุ่งราบโล่งหรือบริเวณขอบชายทุ่ง ติดกับพื้นที่โคกและป่า ได้แก่ ชุมชนโบราณชายขอบทุ่งกุลาร้องไห้ ในเขตอำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง เช่น ชุมชนโบราณที่บ้านหัวเมือง บ้านคูเมือง บ้านคูสองชั้น ในเขตอำเภอมหาชนะชัย ชุมชนโบราณบ้านน้ำอ้อม บ้านโพนแพง บ้านหมากมาย บ้านแข้ บ้านโพนเมือง ในเขตอำเภอค้อวัง ประมาณปี พ.ศ.2314 พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจ เจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกันพระเจ้าศิริบุญสารซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์ มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง 2 ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำเจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสู ผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำปาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่าค่ายบ้านดู่บ้านแก
            พ.ศ. 2354 เจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
            พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า เมืองยศสุนทร ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า พระสุนทรราชวงศา เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร คำว่า ยศสุนทร ต่อมากลายเป็น ยะโสธร มีความหมาย ว่า ทรงไว้ซึ่งยศ แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า ยะโส ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. 2500 – 2513) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น “ยโสธร” และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เมืองยโสธรก็ได้รับเกณฑ์เข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วยได้ชัยชนะ ได้รับพระราชทานเชลยเมืองเวียงจันทน์ 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองหนึ่งกระบอกชื่อว่า ปืนนางป้อง ยังปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระสุนทรราชวงศาเห็นได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว ได้นำศิลาจากบ้านแก้งหินโงมมาสร้างพระพุทธบาทจำลอง แล้วสร้าง วัดป่าอัมพวัน และวัดกลางศรีไตรภูมิไว้เป็นวัดคู่เมือง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2417 ได้เกิดศึกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองหนองคาย เมืองยโสธรถูกเกณฑ์ให้ยกกำลังไปสมทบ กองทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็นจำนวน 500 คน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2426 พวกฮ่อได้ยกกำลังมาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เมืองยโสธรได้รับเกณฑ์ให้เอากำลังช้างม้าโคต่าง ๆ ไปเป็นพาหนะบรรทุกเสบียงไปเลี้ยงกองทัพ พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า กอง สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ  มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง 12 หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
            ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ยกกำลังจากเมืองญวนมาตีเมืองสมโบกของไทย เมืองยโสธรได้ถูกเกณฑ์ให้ไปช่วยรักษาเขตแดน โดยนำกำลังไปสมทบกองทัพจากกรุงเทพ ฯ สามกองทัพ กองทัพละ 1,000 คน
            พ.ศ. 2443 ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร
            ในปี พ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยยโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว เปลี่ยนชื่ออำเภอปจิมยโสธร เป็นอำเภอยโสธร เมืองยโสธร จึงลดฐานะจากเมืองมาเป็นอำเภอ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

            พ.ศ. 2494 กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว และ ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย
 
1.3 ข้อมูลการปกครอง/ประชากร

            1.3.1    การปกครอง
                  
1) การปกครองท้องที่ และการปกครองส่วนท้องถิ่น

                         
ตารางแสดงจำนวนตำบล หมู่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ.2562

ที่

อำเภอ

จำนวน

ตำบล

หมู่บ้าน

อบจ.

เทศบาลนคร

เทศบาลเมือง

เทศบาลตำบล

อบต.

1

เมืองยโสธร

17

190

1

-

1

5

12

2

เลิงนกทา

10

145

-

-

-

9

3

3

คำเขื่อนแก้ว

13

115

-

-

-

2

12

4

มหาชนะชัย

10

103

-

-

-

1

10

5

กุดชุม

9

128

-

-

-

1

9

6

ป่าติ้ว

5

57

-

-

-

1

5

7

ค้อวัง

4

45

-

-

-

1

4

8

ทรายมูล

5

54

-

-

-

2

4

9

ไทยเจริญ

5

48

-

-

-

1

4

 

รวม

78

885

1

-

1

23

63

      ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร

                     1.1) การปกครองท้องที่ จังหวัดยโสธร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอทรายมูล อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง โดยมี 78 ตำบล และ 885 หมู่บ้าน โดยมีชุมชนในเขตเทศบาลเมืองยโสธร จำนวน 23 ชุมชน
                    1.2) การปกครองท้องถิ่น จังหวัดยโสธรมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบ จำนวน 88 แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง
                    1.3.2 ประชากร ในปี 2562 จังหวัดยโสธรมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 537,411 คน เป็นชาย 268,779 คน คิดเป็นร้อยละ 50.01 เป็นหญิง 268,632 คน คิดเป็นร้อยละ 49.97 ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 129.13 คน ต่อตารางกิโลเมตร
                                          ตารางแสดงประชากรจังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2557-2562

พ.ศ.

เพศชาย(คน)

หญิง(คน)

รวม(คน)

2557

271,163

269,048

540,211

2558

271,109

269,073

540,182

2559

 270,748

269,067

539,815

2560

270,412

269,130

539,542

2561

269,705

269,024

538,729

2562

268,779

268,632

537,411

                                          ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธร, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ตารางแสดงจำนวนประชากรจังหวัดยโสธร ปี พ.ศ.2560-2562 และความหนาแน่น รายอำเภอ


อำเภอ

2560

2561

2562

ชาย

หญิง

รวม

ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)

ชาย

หญิง

รวม

ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)

ชาย

 

หญิง

รวม

ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)

เมืองยโสธร

64,949

64,564

129,513

220.0

64,889

64,535

129,424

223.8

54,535

53,910

108,445

187

เลิงนกทา

48,371

48,509

96,880

102.8

48,328

48,556

96,884

102.8

44,919

45,068

89,987

95

คำเขื่อนแก้ว

33,562

33,256

66,818

104.7

33,426

33,192

66,618

104.4

31,330

31,087

62,417

116

มหาชนะชัย

28,666

28,510

57,176

125.6

28,477

28,427

56,904

125.0

26,067

25,888

51,955

114

กุดชุม

33,569

33,053

66,622

122.5

33,505

33,027

66,532

122.3

31,109

30,505

61,614

113

ป่าติ้ว

17,723

17,608

35,331

114.7

17,651

17,627

35,278

114.5

16,101

16,092

32,193

104

ค้อวัง

12,699

12,843

25,542

170.3

12,629

12,819

25,448

169.7

10,337

10,465

20,802

138

ทรายมูล

15,540

15,529

31,069

114.0

15,476

15,566

31,042

113.8

12,361

12,272

24,633

90

ไทยเจริญ

15,333

15,258

30,591

112.4

15,324

15,275

30,599

112.4

15,275

15,294

30,569

112

รวม

270,412

269,130

539,542

130.0

269,705

269,024

538,729

129.5

242,034

240,581

492,615

118

    ที่มา : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

              1.3.3 จำนวนบ้านจากทะเบียนบ้าน  จังหวัดยโสธรมีจำนวนบ้านจากทะเบียนบ้านใน
ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 172,417 ราย โดยข้อมูลจากปี พ.ศ. 2557-2562 จำนวนบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                                             ตารางแสดงจำนวนบ้านจากทะเบียนบ้าน ปี พ.ศ. 2557- 2562

พ.ศ.

2557

2558

2559

2560

2561

2562

 จำนวนบ้าน

159,693

162,578

164,955

167,346

169,918

172,417

                        ที่มา : รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 กรมการปกครอง

            

            1.3.4 การบริหารราชการจังหวัด จังหวัดยโสธรมีการบริหารราชการในจังหวัดประกอบด้วย
      1) ราชการบริหารส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด จำนวน 34 หน่วยงาน มีจำนวนข้าราชการ จำนวน 2,363 คน และลูกจ้าง จำนวน 218 คน (21 ส่วนราชการ)
      2) ราชการบริหารส่วนกลาง ระดับจังหวัด ที่ปฏิบัติงานในจังหวัด จำนวน 37 หน่วยงาน
     3) ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 88 แห่ง แยกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่งเทศบาลตำบล 23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 63 แห่ง 
    4) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 6 หน่วยงาน
    5) องค์ภายใต้รัฐธรรมนูญ จำนวน 8 หน่วยงาน จังหวัดยโสธรมีองค์กรเอกชนในหลายลักษณะเพื่อพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และส่งเสริมอาชีพ ได้แก่ มูลนิธิ สมาคม สโมสรชมรม และกลุ่มอาชีพต่าง ๆซึ่งองค์กรที่เด่นชัด และมีบทบาท เช่น เหล่ากาชาดจังหวัด หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพจังหวัด สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัด มูลนิธิรวมสามัคคี และกลุ่มอาชีพในพื้นที่ที่เป็นองค์กรพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง อาทิกลุ่มเกษตรอินทรีย์







1.4 ข้อมูลเศรษฐกิจ

                1.4.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกาศข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ฉบับปี พ.ศ.2560 พบว่า จังหวัดยโสธร ในปี 2560 โครงสร้างการผลิตตามมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) จังหวัดยโสธร จำนวน 19 สาขา มีมูลค่า 26,039 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1,141 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 24,898 ล้านบาท และลดลง 362 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีมูลค่าอยู่ที่26,401 ล้านบาท) จัดเป็นลำดับที่ 17 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลำดับที่ 3 ของกลุ่มจังหวัด และลำดับที่ 71 ของประเทศและมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2560 ร้อยละ -2.67 และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยตั้งแต่ ปี2556-2560 ร้อยละ 0.29 โดยสาขาการผลิตภาคเกษตรมีมูลค่า 6,331 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.31 ของผลิตภัณฑ์มวลจังหวัด และสาขาการผลิตนอกภาคเกษตร เท่ากับ 19,708 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.69 โดยสาขาการผลิตที่มีมูลค่าสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ
                  (1) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง จำนวน 6,331 ล้านบาท
                  (2) สาขาการศึกษา จำนวน 4,663 ล้านบาท
                  (3) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์จำนวน 3,227 ล้านบาท
                  (4) สาขาการเงินและการประกันภัย จำนวน 2,672 ล้านบาท
                  (5) การผลิตอุตสาหกรรมจำนวน 2,295 ล้านบาท
                  ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 24.31, 17.91, 12.39, 10.26 และ 8.81 ตามลำดับ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวังขณะที่มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว (Per Capita : GPP) มีจำนวน 54,183 ล้านบาทจัดเป็นลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นลำดับที่ 4 ของกลุ่มจังหวัด และลำดับที่ 75 ของประเทศ

                     ตารางแสดงผลิตภัณฑ์ของจังหวัด จำแนกตามสาขาการผลิต พ.ศ.2556–2560


สาขาการผลิต

มูลค่า (ล้านบาท)

พ.ศ. 2556

พ.ศ.
2557

พ.ศ.
2558

พ.ศ.
2559

พ.ศ. 2560

ภาคเกษตร

9,228

7,527

7,200

6,805

6,331

เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง

9,228

7,527

7,200

6,805

6,331

ภาคนอกการเกษตร

18,161

17,418

17,704

19,596

19,708

การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน

79

77

94

139

148

การผลิตอุตสาหกรรม

2,190

1,542

1,669

2,139

2,295

ไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ

320

347

335

350

367

การประปาและการจัดการของเสีย

59

62

69

72

92

การก่อสร้าง

1,355

1,391

1,147

1,283

837

การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์
และจักรยานยนต์

2,614

2,527

2,724

3,149

3,227

การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า

469

515

511

604

602

สาขาการผลิต

มูลค่า (ล้านบาท)

พ.ศ. 2556

พ.ศ.
2557

พ.ศ.
2558

พ.ศ.
2559

พ.ศ. 2560

ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

69

67

73

79

96

ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

215

214

223

204

229

การเงินและการประกันภัย

1,742

2,003

2,178

2,596

2,672

กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

1,326

1,100

1,015

1,181

1,110

กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

1

1

2

2

2

กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนอื่นๆ

47

62

47

20

21

การบริหารราชการ การป้องกันประเทศฯ

1,378

954

1,384

1,341

1,382

การศึกษา

4,733

4,909

4,478

4,614

4,663

กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์

1,110

1,186

1,279

1,318

1,434

ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

45

45

45

56

67

กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ

408

415

432

450

464

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Products)

27,389

24,945

24,898

26,401

26,039

ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อคน (GPP Per Capita) (บาท)

56,416

51,498

51,529

54,775

54,183

จำนวนประชากร (1,000 คน)

485

484

483

482

481

                       ที่มา: สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธรสำนักงานคลังจังหวัดยโสธร และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
                และสังคมแห่งชาติ

                                 ตารางแสดงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปี 2556-2560

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

เฉลี่ย 5 ปี

2.11

-0.83

-1.73

4.58

-2.67

0.29

            1.4.2 การเกษตร ประชากรในจังหวัดยโสธรส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำนา ปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์
โดยจังหวัดยโสธร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง จากปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2556 มีจำนวน 9,228 ล้านบาท ปี 2557 จำนวน 7,527 ล้านบาท ปี 2558 จำนวน 7,200 ล้านบาทปี 2559 จำนวน 6,870 ล้านบาท และปี 2560 จำนวน 6,331 ล้านบาท
                   1) พื้นที่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร พบว่า ในปี 2560จังหวัดยโสธรมีพื้นที่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จำนวน 1,718,036 ไร่ โดยเป็นเนื้อที่นา จำนวน 1,376,091 ไร่ เนื้อที่พืชไร่ จำนวน 142,848 ไร่ เนื้อที่ไม้ผลและไม้ยืนต้น จำนวน 104,192 ไร่ และเนื้อที่ที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน 6,741 ไร่ (ปี 2561 จำนวน 4,183 ไร่)

ลำดับ

รายการข้อมูล

ปี
2556

ปี
2557

ปี
2558

ปี
2559

ปี
2560

ปี 2561

1

เนื้อที่การใช้ประโยชน์
ทางการเกษตร (ไร่)

1,717,923

1,717,650

1,717,713

1,718,452

1,718,036

-

2

เนื้อที่นา (ไร่)

1,376,090

1,375,851

1,376,250

1,376,505

1,376,091

-

3

เนื้อที่พืชไร่ (ไร่)

142,765

142,726

142,567

142,932

142,848

-

4

เนื้อที่ไม้ผลและไม้ยืนต้น (ไร่)

104,004

104,109

103,953

104,104

104,192

-

5

เนื้อที่สวนผัก ไม้ดอก
ไม้ประดับ (ไร่)

5,314

5,261

5,262

5,251

5,237

-

6

เนื้อที่การเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำจืด (ไร่)

5,519

4,566

6,140

7,013

6,741

4,183

7

ครัวเรือนที่มีการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำจืด (ครัวเรือน)

4,280

4,185

8,784

9,707

9,825

4,134

                         ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร

                         2) พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดยโสธรมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน แตงโมเนื้อ ถั่วลิสง ข้าวโพด หอมแดง เป็นต้น ผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวอินทรีย์เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
                         2.1) การปลูกพืชเศรษฐกิจของจังหวัดยโสธร

ปีการผลิต/รายการข้อมูล

ข้าวนาปี

ข้าวนาปรัง

มันสำปะหลัง

แตงโมเนื้อ

ถั่วลิสง

ปี 2559/2560

         

ผู้ปลูก (ราย)

245,805

4,530

15,002

1,565

780

เนื้อที่ปลูก (ไร่)

1,348,139

28,250

74,601

12,184

906

ผลผลิตที่
เก็บเกี่ยวได้ (กก.)

546,639,880

3,475,220

211,989,000

798,750

427,680

ผลผลิตเฉลี่ย
(หน่วยต่อไร่)

436

553

3162

777

536

ราคาเกษตรกรขายได้เฉลี่ย (บาท/หน่วย)

8.06

7.01

1.88

11.49

30.44

ปี 2560/2561

         

ผู้ปลูก (ราย)

88,736

6,215

7,802

487

514

เนื้อที่ปลูก (ไร่)

1,399,481

65,078

84,175

1,335

1,143

ผลผลิตที่
เก็บเกี่ยวได้ (กก.)

600,981,845

35,988,134

211,989,000

905,902

154,670

ผลผลิตเฉลี่ย
(หน่วยต่อไร่)

440

583

3,362

3,470

280

ราคาเกษตรกรขายได้เฉลี่ย (บาท/หน่วย)

10.00

5.00

2.08

13.00

25

ปี 2561/2562

         

ผู้ปลูก (ราย)

92,670

5,265

8,095

370

779

เนื้อที่ปลูก (ไร่)

1,348,139

56,523

97,852

925

1,948

เนื้อที่ให้ผลผลิต (ไร่)

1,285,451

56,523

76,927

925

1,948

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

1,285,451

56,523

76,927

925

1,948

ผลผลิต
ที่เก็บเกี่ยวได้ (กก.)

546,639,880

35,239,834

211,989,000

963,250

395,200

ผลผลิตเฉลี่ย (หน่วยต่อไร่)

436

560

3,452

3,750

290

ราคาเกษตรกรขายได้เฉลี่ย (บาท/หน่วย)

11.26

6.03

2.35

11.75

28

ปี 2562/2563

         

ผู้ปลูก (ราย)

96,802

 

9,310

422

318

เนื้อที่ปลูก (ไร่)

1,342,345

 

101,244

1,165

530

ผลผลิตที่
เก็บเกี่ยวได้ (กก.)

456,617,280

 

211,989,000

1,490,910

122,700

ผลผลิตเฉลี่ย
(หน่วยต่อไร่)

420

 

3,458

3,785

288

ราคาเกษตรกรขายได้เฉลี่ย (บาท/หน่วย)

13.50

 

2.27

12

30

                               ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร

                          2.2) การปลูกข้าวของจังหวัดยโสธร
                                 (1) พื้นที่ปลูกข้าว

รายการสถิติ

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
ของจังหวัด(ไร่)

1,463,759

1,422,846

1,399,481

1,348,139

1,342,345

                                 (2) ผลผลิตข้าว ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร พบว่า ในปี 2562 จังหวัดยโสธร มีผลผลิตข้าวนาปี 456,617 ตัน ผลผลิตข้าวนาปีเฉลี่ยต่อไร่ 420 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตข้าวนาปรัง 35,293 ตัน ผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ยต่อไร่ จำนวน 628 กิโลกรัม/ไร่ ปริมาณการจับสัตว์น้ำจืด 6,208,711 ตัน

ลำดับ

รายการข้อมูล

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

1

ผลผลิตข้าวนาปี (ตัน)

553,438

547,298

600,981

546,639

456,617

2

ผลผลิตข้าวนาปีเฉลี่ยต่อไร่ (กก.)

415

436

440

436

420

3

ผลผลิตข้าวนาปรัง (ตัน)

632.38

2,777.61

3,598.81

3,523.98

35,293

4

ผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ย
ต่อไร่ (กก.)

582

550

583

560

628

5

ปริมาณการจับสัตว์น้ำจืด (กก.)

1,884,103

1,973,103

7,037,040

3,779,400

6,208,711

                           2.3)  การผลิตด้านปศุสัตว์ ข้อมูลปี พ.ศ. 2562 มีเกษตรกรและชนิดสัตว์ที่เลี้ยง ดังนี้
                                    - โคเนื้อพันธุ์ลูกผสม จำนวน 133,634 ตัวจำนวนเกษตรกร 24,532 ราย 
                                         - กระบือ จำนวน  32,075 ตัวจำนวนเกษตรกร 6,110 ราย
                                         - สุกร จำนวน  52,650 ตัวจำนวนเกษตรกร 1,801 ราย
                                         - ไก่ (ไก่เนื้อ,ไก่พื้นเมือง,ไก่ไข่)  1,730,152 ตัว จำนวนเกษตรกร 35,386 ราย
                                         - เป็ด (เป็ดเทศ,เป็ดเนื้อ,เป็ดไข่) 162,125 ตัว จำนวนเกษตรกร 6,824 ราย
                                         - แพะจำนวน 292 ตัว  จำนวนเกษตรกร 22 ราย
                                         - แกะ จำนวน – ราย
                     ตารางแสดงข้อมูลประชากรสัตว์และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์จังหวัดยโสธร ปี 2558-2562


ชนิดสัตว์

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

จำนวน

เกษตรกร

จำนวน

เกษตรกร

จำนวน

เกษตรกร

จำนวน

เกษตรกร

จำนวน

เกษตรกร

โคเนื้อ

68,021

19,727

70,521

18,645

79,984

19,142

109,925

22,118

133,634

24,532

กระบือ

16,123

5,221

17,680

4,860

21,091

5,005

28,751

5,976

32,075

6,110

สุกร

33,182

1,217

43,340

1,509

51,169

1,691

54,967

1,772

52,650

1,801

ไก่

1,286,206

32,832

1,126,352

29,975

1,336,913

29,705

1,656,811

34,093

1,730,152

35,386

เป็ด

93,626

6,279

95,647

5,522

62,275

2,482

152,988

6,777

162,125

6,824

แพะ

32

1

32

1

91

11

157

18

292

22

แกะ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

           ที่มา :  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยโสธร

                             2.4) ข้อมูลเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยของจังหวัดยโสธร                           

                                    2.4.1) จังหวัดยโสธรกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถียโสธร   โดยมีเป้าหมายส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ที่มีศักยภาพให้มีความเข้มแข็ง และมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้ได้มาตรฐาน การรับรองตามความต้องการองตลาด เพื่อขยายพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด โดยมีเป้าหมายการขยายพื้นที่เพิ่มให้ได้เป้าหมาย จำนวน 300,000 ไร่ ภายในปี พ.ศ. 2565 โดยมีวิสัยทัศน์จังหวัด ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน ประเด็นยุทธศาสตร์ ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ครบวงจรและได้มาตรฐานภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2561 – 2565 เกษตรกรและพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ปี 2559-2561การดำเนินการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดยโสธร
                                  โดยในปี 2559 สามารถดำเนินการขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์รวมทุกมาตรฐานได้ 90,041 ไร่ มีเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ จำนวน 8,548รายปี 2560ดำเนินการได้ 77,294.25 ไร่ เกษตรกร 10,471 รายปี 2561 ดำเนินการได้ 56,645.50 ไร่ เกษตรกร 4,418 ราย และปี 2562 ดำเนินการได้ 97,489.63 ไร่ เกษตรกร 15,570 รายโดยรวมพื้นที่ี่เกษตรอินทรีย์์และเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ถึงปี 2562 มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ รวมจำนวน 321,470.38 ไร่ และมีเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รวมจำนวน 39,007 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 )


มาตรฐาน
เกษตร
อินทรีย์

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562
(ณ 12 พ.ย.62)

รวม
(ณ 12 พ.ย.62)

ราย

ไร่

ราย

ไร่

ราย

ไร่

ราย

ไร่

ราย

ไร่

Yaso BOS

4

35.00

       

PGS

2,851

24,616.00

4,970

21,751.00

402

2,838.00

       

มกษ 9000

5,243

57,774.50

5,051

47,153.50

719

7,366.75

       

มาตรฐาน
สากล

450

7,615.50

450

8,389.75

3,297

46,440.75

       

รวม

8,548

90,041.00

10,471

77,294.25

4,418

56,645.50

15,570

97,489.63

39,007

321,470.38


                                    2.4.2) ข้าวหอมมะลิอินทรีย์

รายการสถิติ

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ (ไร่)

32,157

38,126

42,126

46,626

47,076

จำนวนผลผลิตของข้าวหอมมะลิอินทรีย์
จำแนกรายเกษตรกร รายกลุ่มเกษตรกร (ตัน)

12,605

15,057

16,872

18,464

18,830

จำนวนผลผลิตต่อไร่ของข้าวหอมมะลิอินทรีย์
จำแนกรายเกษตรกร รายกลุ่มเกษตรกร (กิโลกรัม/ไร่)

392

394

395

396

400

จำนวนกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ (กลุ่ม)

8

8

8

10

10

จำนวนสมาชิก (ราย)

1,053

1,606

1,846

2,354

2,789

จำนวนกลุ่มที่มีการใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญา
ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัรฑ์ OTOP ข้าวอินทรีย์ (กลุ่ม)

8

8

8

10

10

                                     2.4.3) ข้อมูลข้าวหอมมะลิปลอดภัย

รายการสถิติ

หน่วย

พ.ศ.

2557

2558

2559

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ

ไร่

1,052,553

1,063,295

1,064,646

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพ

ไร่

1,052,553

1,063,295

1,064,646

จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนและ
พัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตข้าวหอมมะล
ิให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน GAP หรือเทียบเท่า
GAP ของจังหวัด

ราย

27,834

29,184

30,534

จำนวนผลผลิตข้าวหอมมะลิเฉลี่ยต่อไร่

กก./ไร่

470

449

450

จำนวนค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ
เฉลี่ยต่อไร่ในปีปัจจุบันและปีที่ผ่านมา

บาท/ไร่

3,964

3,964

2,904

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่เข้าร่วมโครงการ
ปลูกข้าวหอมมะลิปลอดภัยของจังหวัดที่ได้รับ
การรับรองคุณภาพมาตรฐาน GAP หรือ
เทียบเท่า GAP ของจังหวัด

ไร่

6,665

10,800

17,550

                                          ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร

                            2.5) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จังหวัดยโสธรมีคณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อช่วยเหลือตนเองและสมาชิก ภายใต้พระราชบัญญัติสหกรณ์และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร โดยในปี 2562 จังหวัดยโสธรมีสหกรณ์จำนวน 82 แห่งสมาชิก 98,137 คน แบ่งเป็นสหกรณ์ภาคเกษตร 64 แห่ง สมาชิก 84,110 คนและสหกรณ์นอกภาคเกษตร 18 แห่ง สมาชิก 14,027 คน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรประเภทต่าง ๆ จำนวน 82 แห่ง โดยมีสมาชิก 11,700 คน
                            3) การท่องเที่ยว จังหวัดยโสธรได้เล็งเห็นลู่ทางในการสร้างรายได้จากภาคการท่องเที่ยวและบริการ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งในเชิงประวัติศาสตร์โบราณสถาน/โบราณวัตถุแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรม ประเพณีและศาสนาโดยเฉพาะงานประเพณีบุญบั้งไฟ และงานประเพณีบุญแห่มาลัยข้าวตอก พระธาตุพระอานนท์ พระพุทธบุษยรัตน์ วัดมหาธาตุ พระสุก พิพิธภัณฑ์หลวงตาพวงวัดศรีธรรมาราม วิมานพญาแถนซึ่งมีอาคารพญาคันคากและอาคารพญานาคที่เป็น Land Mark แห่งใหม่ของจังหวัดสวนสาธารณะพญาแถน ธาตุก่องข้าวน้อยมีชุมชนเมืองเก่า 200 ปี วัดอัครเทวดามิคาแอล (โบสถ์ไม้) บ้านซ่งแย้ โบราณสถานดงเมืองเตย พระธาตุกู่จานแหล่งโบราณสถานบ้านสงเปือยหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ พระธาตุโพนทัน วัดพระพุทธบาทยโสธรวัดภูถ้ำพระ วัดพุทธอุทยานภูสูง หมู่บ้านทำหมอนขิดบ้านศรีฐาน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิอินทรีย์,หมอนขวานผ้าขิด, ผ้าไหม,ผ้าพื้นเมือง,เสื่อกก,เครื่องทองเหลือง,เครื่องจักรสาน, ปลาส้ม,ลอดช่อง, เนื้อโคขุน, ไข่ไก่อินทรีย์, ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง เป็นต้น 
                                จังหวัดยโสธรมีประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ อาทิ งานประเพณีบุญบั้งไฟ (Rocket Festival ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีในสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมโดยปัจจุบันถือเป็นงานประเพณีที่รู้จักในระดับนานาชาติ งานประเพณีแห๋่มาลัยข้าวตอกเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นหนึ่งเดียวในโลกช่วงก่อนวันมาฆบูชาและก่อนวันงานบุญผะเหวด (เทศน์มหาชาติ) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันมาฆบูชาเป็นประจำทุกปี ประเพณีจุดไฟตูมกาออกพรรษายโสธรในช่วงวันออกพรรษาหรือในเดือนตุลาคมของทุกปี ที่ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในประเทศไทยและงานประเพณีอันสำคัญของชุมชนชาวคริสต์อำเภอไทยเจริญงานประเพณีแห่ดาวช่วงเดือนเทศกาลวันคริสต์มาเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในวันคล้ายวันประสูติของพระเยซูและเพื่อแสดงความรักต่อองค์ศาสดาหรือพระเยซูเจ้านอกจากงานประเพณีต่างที่สำคัญของจังหวัดแล้วจังหวัดยโสธรของเรายังมีการสืบสานวัฒนธรรมอีสานตามจารีตประเพณี“ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” ทั้งเรื่องของอาหาร การทอผ้าและการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานจังหวัดยโสธรไม่เพียงเป็นจังหวัดที่ี่เป็นเส้นทางผ่านไปสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลาย ๆ แห่งในจังหวัดใกล้เคียง แต่ยโสธรยังมีีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ เช่น วิมานพญาแถนที่มีพิพิธภัณฑพญานาค ที่ได้จัดแสดงตำนานและต้นกำเนิด ความเชื่อเรื่องพญานาค (งูใหญ่)หลากหลายสายพันธุ์จากทั่วโลกและพิพิธภัณฑ์พญาคันคากได้รวบรวมคากคกหลากหลายสายพันธ์พร้อมกับตำนานการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟการทำบั้งไฟที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวยโสธร และกำหนดพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งจำนวนสินค้าสำหรับคนทั่วไป เช่น ตลาดบั้งไฟไนท์มาร์เก็ตที่เปิดให้บริการทุกวันเสาร์จังหวัดยโสธรจึงถือเป็นเมืองน่าอยู่ ตามโครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน One Planet City Challenge (OPCC) ประจำปี 2561 ในระดับประเทศ และอันดับ 7 ในระดับนานาชาติ
                               โดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ซึ่งรางวัลดังกล่าวถือเป็นการการันตีได้ว่า จังหวัดยโสธร เป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกควรได้มาเยี่ยมเยือนสักครั้งแล้วทุกท่านจะได้พบกับไมตรีจิตอันดีจากเราชาวยโสธร ได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวอีสานดั้งเดิมเช่น บ้านห้องแซงอำเภอเลิงนกทาที่มีความผูกพันกับความเชื่อความศรัทธาและในย่านตัวเมืองยโสธรยังเป็นเมืองท่าขนสินค้าที่เก่าแก่่ในสมัยฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลจนกระทั่งทำให้ย่านชุมชนบ้านสิงห์ท่ามีการสร้างบ้านเรือนตามแบบศิลปกรรมแบบจีนผสมกับยุโรปที่มีความผสมผสานอย่างลงตัว “ยโสธร ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยว"ดินแดนที่ตั้งอยู่บนทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมที่อบอวลด้วยมนต์เสน่ห์แห่งวิถีชีวิต ประเพณี มีหลายสิ่งน่าสนใจและน่าค้นหา ขอเพียงแค่สักครั้งที่ท่านจะได้มาสัมผัสด้วยตาตนเอง ตามคำที่ว่า “ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน” ซึ่งในอนาคตจังหวัดยโสธรมีแนวทางในการขับเคลื่อนให้เมืองยโสธรเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าด้านการเกษตรอินทรีย์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างอีกด้วยที่ผ่านมาจังหวัดยโสธรได้กำหนดให้ปี ๒๕๕๙เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวของจังหวัดภายใต้แนวคิด “สุขใจที่ได้มายโสธร” โดยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจังหวัดยโสธรได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ตลาดประชารัฐการประกวดแข่งขันลาบยโสธร กิจกรรมชวนกันไปดำนาการแข่งขันเจ็ตสกีชิงแชมป์ประเทศไทยสนาม 3 ลำน้ำทวน การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ 7 สิ่งหนึ่งเดียวในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดยโสธรการจัดทำมินิซีรี่ส์ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร “มนต์ฮักวิมานพญาแถน”และการส่งเสริมการปั่นจักรยานเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร เป็นต้น
               
           จำนวนนักท่องเที่ยว รายได้ ระยะเวลาการพำนักและค่าใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2556 – 2562


ปี

จำนวนนักท่องเที่ยว

รายได้
(ล้านบาท)

ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย (วัน)

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย
(บาท/คน/วัน)

รวมทั้งสิ้น
(คน)

ชาวไทย
(คน)

ชาวต่างชาติ
(คน)

ชาวไทย

ชาวต่าง
ชาติ

ชาวไทย

ชาวต่าง
ชาติ

2556

499,902

487,629

12,273

575.73

2.12

2.43

724.42

1,051.16

2557

494,385

482,377

12,008

581.62

2.09

2.41

753.15

1,086.87

2558

513,244

500,922

12,322

609.18

2.04

2.43

771.18

1,115.83

2559

523,642

510,964

12,678

646.85

2.06

2.44

798.98

1,150.92

2560

607,821

592,398

15,423

776.33

2.09

2.40

819.97

1,190.60

2561

628,504

612,731

15,773

862.35

2.11

2.40

849.09

1,238.89

2562

525,920

512,445

13,475

733.05

-

-

-

-

     *หมายเหตุ: ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย (วัน) และค่าใช้จ่ายเฉลี่ย (บาท/คน/วัน) ปี 2562 ประมาณการณ์
                     จากเดือนมกราคม – ตุลาคม 2562
           ที่มา : กองเศรษฐกิจ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ข้อมูลโดย : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา
  
                  จังหวัดยโสธร
                       
                            โรงแรม/ที่พัก ข้อมูลจากที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธจำนวนสถานประกอบการที่มาขอจดทะเบียนประเภทโรงแรม/ที่พักมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แสดงให้้เห็นศักยภาพและความพร้อมของ
จังหวัดยโสธรในการที่จะรองรับการท่องเที่ยวได้มากขึ้น โดยมีทั้งโรงแรมขนาดใหญ่่ที่มีมาตรฐานสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทุกระดับและหลากหลายกิจกรรมในการให้บริการนักท่องเที่ยว เช่น ภัตตาคาร ห้องประชุมสัมมนา แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรม/ที่พักขนากเล็ก จังหวัดยโสธรมีจำนวนโรงแรมที่พักที่เพิ่มขึ้น
โดยปี 2558 มี73 แห่ง ปี 2559 มี 88 แห่ง ปี 2560 มี 95 แห่ง ปี 2561 มี 103 แห่ง และปี 2562 มี 107 แห่ง

                          4)  การค้า การค้าของจังหวัดยโสธรโดยเฉพาะการค้าข้าวมีหนาแน่นที่ชุมชนเทศบาลเมืองยโสธร เทศบาลตำบลกุดชุมพัฒนาเทศบาลตำบลเลิงนกทาเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว สินค้าที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ปลาส้ม ถั่วลิสง
แตงโมอินทรีย์หมอนขวานผ้าขิดผ้าไหมลายลูกหวาย ผ้าไทยท้องถิ่น จักสานไม้ไผ่กระติบข้าในปี2561จังหวัดได้ดำเนินการคัดเลือกตลาดประชารัฐที่ศักยภาพเพื่อเสนอตลาดประชารัฐบรรจุในปฏิทิน“ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน”
แล้ว 1 แห่ง ได้แก่ ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรมถนนสายวัฒนธรรม ณ บริเวณถนนคนเดิน บ้านสิงห์ท่า ตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล
ตลาดประชารัฐ ดังกล่าว

                         5) ผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดยโสธรมีสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ หมอนขวานผ้าขิด ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ และเสื่อกกและผลิตภัณฑ์จากกก และผ้าย้อมสีธรรมชาติ ส่วนประเภทอาหาร ได้แก่ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ข้าวหอมมะลิคุณภาพดีข้าว 5 สายพันธุ์ และปลาส้มยโสธร อันเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยข้อมูลปี 2562 มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สะสมจำนวน986 ผลิตภัณฑ์ (ข้อมูล ณปี2562) และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับความนิยมและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกและจังหวัดยโสธร โดยเฉพาะหมอนขวานผ้าขิดที่บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว สะสมจำนวน 71 รายมีการส่งไปจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นและภายในประเทศ ซึ่งมีกำลังผลิตไม่มากนักและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกในชุมชน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย เครื่องทองเหลือง แกะสลักไม้ ปลาส้ม ไก่ย่างบ้านแคน ลอดช่องเนื้อโคขุนไข่ไก่อินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงเป็นต้น
                       จังหวัดยโสธร มีกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ที่ลงทะเบียนในระบบปี 2559-2562 รวมจำนวน 1,206 กลุ่ม/ราย ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตชุมชน 986 กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน/SME 3 กลุ่ม/ราย และผู้ผลิตชุมชนที่่เป็นข้าวของรายเดียว 217 ราย โดยมีผลิตภัณฑ์รวมจำนวน 1,758 ผลิตภัณฑ์แยกเป็นประเภทอาหาร 353 ผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่ม 19 ผลิตภัณฑ์ ผ้าและเครื่องแต่งกาย 312 ผลิตภัณฑ์ ของใช้ของตกแต่ง 996 ผลิตภัณฑ์ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร78 ผลิตภัณฑ์ และเมื่อแบ่งตามระดับการพัฒนาจะเป็นกลุ่มดาวเด่นสู่สากล (A)131 ผลิตภัณฑ์กลุ่มอนุรักษ์สร้างคุณค่า (B)137 ผลิตภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน (C) 256ผลิตภัณฑ์ และกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (D) 1,234 ผลิตภัณฑ์ ายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร พบว่า จังหวัดยโสธรมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

   
พ.ศ.
 

รายได้จากการจำหน่าย/ปี
(บาท)

2555

855,426,192.00

2556

861,215,526.00

2557

14,969,470.00

2558

1,081,433,256.00

2559

1,211,205,246.72

2560

1,531,298,764.00

2561

1,867,373,131.00

2562

2,310,863,164.00

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร

                      6) อุตสาหกรรม จังหวัดยโสธรมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 311 โรงงาน เงินลงทุน 4,944,150,311 บาท และมีการจ้างงานรวม 4,623 คน โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่มีทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ซึ่งมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น ยางพารา ส่งไปจำหน่ายยังประเทศจีน ข้าวหอมมะลิ ชุดชั้นในสตรียี่ห้อซาบีน่า เป็นต้น

พ.ศ.

โรงงาน
ขนาดเล็ก (แห่ง)

โรงงาน
ขนาดกลาง(แห่ง)

โรงงาน
ขนาดใหญ่ (แห่ง)

รวมโรงงาน
ทุกขนาด (แห่ง)

จำนวนแรงงาน
ในโรงงาน (คน)

2553

132

48

3

183

3,369

2554

142

49

3

194

3,429

2555

158

53

4

215

3,558

2556

167

62

4

233

3,698

2557

176

65

6

247

4,133

2558

185

71

7

263

4,284

2559

193

74

7

274

4,352

2560

277

14

3

294

4,469

2561

282

15

3

300

4,541

2562

311

15

3

293

4,623

                        ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร
                                  โดยมีหมวดอุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
                        6.1) หมวดอุตสาหกรรมการเกษตร มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 59 โรงงาน เช่นอุตสาหกรรมประเภทโรงสีข้าว อบเมล็ดพืช และทำมันเส้น เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 18.98 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด โดยมีเงินลงทุน 1,859.78 ล้านบาท และการจ้างงาน 707 คน 
     7.2) หมวดอุตสาหกรรมอโลหะ มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 53 โรงงาน เช่นอุตสาหกรรมประเภทผลิตภัณฑ์คอนกรีตและคอนกรีตผสมเสร็จ เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 17.05 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด โดยมีเงินลงทุน 367.14 ล้านบาท และการจ้างงาน 395 คน
     7.3) หมวดอุตสาหกรรมอื่น ๆ มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 32 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 10.29 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด โดยมีเงินลงทุน 169.15 ล้านบาท และการจ้างงาน 118 คน

1.5 ลักษณะทางสังคม
1.5.1 แรงงาน
      ผู้สมัครงาน ตำแหน่งงานว่าง และการบรรจุงาน สถานการณ์แรงงานในจังหวัดยโสธร ในห้วงปี 2557 – 2561 จากข้อมูลการให้บริการจัดหางาน ในปี 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 พบว่านายจ้าง/สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานลดลงร้อยละ 60.27 (2,197) มีผู้สมัครงานลดลงร้อยละ 31.11 (652) และมีงานทำลดลงร้อยละ 37.95(921) สำหรับข้อมูลบรรจุงานในปี 2560 และปี 2561 ที่มียอดบรรจุมากกว่าผู้สมัครงานเนื่องจากผู้สมัครยังไม่ได้บรรจุงานในปี 2559 ได้รับการบรรจุในปี 2560 และมีผู้สมัครงานในปี 2560 ได้มาบรรจุงานในปี2561ทำให้ข้อมูลบรรจุงานมากกว่าข้อมูลผู้สมัครงานสำหรับปัญหาการว่างงานในจังหวัดยโสธร เป็นการว่างงานตามฤดูกาล การว่างงานแอบแฝงนอกจากนี้ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ Gen Y จะเป็นการทำงานในสถานประกอบการมีนายจ้างลดลงแต่การประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น ในลักษณะฟรีแลนซ์ (Freelance) รับจ้างอิสระมากขึ้นลักษณะจะเป็นงาน Part time งานชั่วคราว และเป็นการประกอบธุรกิจแบบ Start Up เพิ่มขึ้น


          สถิติตำแหน่งงาน ผู้สมัครงาน และบรรจุงาน จังหวัดยโสธร ปี 2557 – 2562

ปี

ตำแหน่งงาน

ผู้สมัครงาน

บรรจุงาน

คิดเป็นร้อยละ

2557

2,196

2,592

1,901

73.34

2558

2,459

2,879

2,147

74.57

2559

3,529

2,231

2,641

118.37

2560

3,645

2,096

2,427

115.75

2561

1,448

1,444

1,506

53.84

2562 (ม.ค. – ก.ย.)

1,834

1,999

1,722

79.17

                                                      ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร สำนักงานจัดหาจังหวัดยโสธร และสำนักงานแรงงานจังหวัดยโสธร
           อัตราการมีงานทำ ปี 2556-2562

 

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562
(ม.ค.-ก.ย.)

ร้อยละ

99.16

99.47

99.13

99.28

99.69

97.90

73.08

                         ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร สำนักงานจัดหาจังหวัดยโสธร และสำนักงานแรงงานจังหวัดยโสธร

1.5.2 การประกันตนในระบบประกันสังคม ข้อมูลตั้งแต่ปี 2558 จังหวัดยโสธรมีจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลปี 2558-2561 มีจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 รวมจำนวน 32,661 คน,2,889 คน, 35,947 คน, 40,082 คน ตามลำดับ ขณะที่ปี 2562 ข้อมูล ณ พฤศจิกายน 2562 มีจำนวน 42,164 คน


           จำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม


ปี

ผู้ประกันตน

มาตรา 33

มาตรา 39

มาตรา 40

รวม

2554

12,307

1,557

3,389

19,807

2555

12,195

1,857

10,342

26,949

2556

12,339

1,999

13,264

27,602

2557

12,821

2,074

18,137

33,032

2558

13,708

2,146

16,807

32,661

2559

13,750

2,332

16,807

32,889

2560

14,620

2,571

18,756

35,947

2561

14,875

3,088

22,119

40,082

2562
ข้อมูล ณ พ.ย. 62

14,920

3,282

23,962

42,164

   ที่มา : สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยโสธร

 1.5.3 ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ จากข้อมูลการสำรวจข้อมูลผู้ด้อยโอกาสของจังหวัดยโสธรพบว่า มีจำนวนที่พบสูงขึ้นต่อเนื่องจากปี 2557-2562 และมีจำนวนลดลงในปี 2560


ผู้ด้อยโอกาสและ
ผู้พิการ (คน)

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

764

1,553

2,032

1,816

1,116

6,436

ที่มา : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร

1.5.4 สาธารณสุข                     
       
1) โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ในปี 2562 จังหวัดยโสธร มีโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 9 แห่งแยกเป็นโรงพยาบาลระดับจังหวัด 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนระดับอำเภอ 8 แห่ง มีเตียงรวม 720 เตียง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 112 แห่ง และคลินิกทุกประเภท 134 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีโรงพยาบาลของเอกชน 2 แห่ง (110 เตียง)


พ.ศ.

รพ.จังหวัด/อำเภอ
(แห่ง)

รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล
(แห่ง)

คลินิก
ทุกประเภท
(แห่ง)

แพทย์
(คน)

ทันตแพทย์
(คน)

พยาบาล (คน)

เตียง
(เตียง)

ผู้ป่วยนอกของ รพ.จังหวัด/อำเภอ
(ครั้ง)

2556

9

112

92

88

38

734

650

987,841

2557

9

112

92

80

38

753

650

980,342

2558

9

112

100

85

35

586

650

1,109,304

2559

9

112

111

106

34

820

650

1,094,042

2560

9

112

111

106

34

820

650

1,160,834

2561

9

112

134

95

45

928

720

1,109,304

2562

9

112

134

95

45

928

720

1,109,304

          ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธi

อำเภอ

โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบล (แห่ง)

โรงพยาบาล

ประเภทคลินิก

แห่ง

จำนวนเตียง

เวชกรรม

เวชกรรม
เฉพาะทาง

การพยาบาล
และผดุงครรภ์

ทันต
กรรม

แพทย์
แผนไทย

แพทย์
แผนไทย
ประยุกต์

กาย
ภาพ
บำบัด

เทคนิค
การ
แพทย์

อื่นๆ
(แพทย์แผนจีน)

รวม

เมืองยโสธร

21

1

370

15

24

11

12

1

-

2

2

1

70

ทรายมูล

9

1

30

0

-

10

-

0

-

-

-

-

10

กุดชุม

13

1

30

3

2

4

1

1

-

-

-

-

11

คำเขื่อนแก้ว

16

1

60

3

1

7

1

1

-

-

-

-

13

ป่าติ้ว

7

1

30

1

-

2

-

-

-

-

-

-

3

มหาชนะชัย

16

1

30

2

1

4

1

-

-

-

-

-

8

ค้อวัง

6

1

30

1

-

1

-

-

-

-

-

-

2

เลิงนกทา

18

1

120

2

2

6

3

1

-

-

1

-

15

ไทยเจริญ

6

1

20

-

-

5

-

-

-

-

-

-

5

รวม

112

9

720

27

30

50

18

4

-

2

3

1

137

                      ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร (ข้อมูล ณ มกราคม ๒๕๖2)
1.5.5
 การศึกษา
                     1) จำนวนสถานศึกษาทุกสังกัด จังหวัดยโสธรมีสถานศึกษาในปี พ.ศ. 2562 รวมทั้งสิ้น 723 แห่ง แบ่งเป็นดังนี้


ลำดับ

สังกัด/อยู่ในกำกับดูแล

จำนวน

ตั้งอยู่ในพื้นที่ (อำเภอ)

เมือง

คำเขื่อนแก้ว

มหาชนะชัย

ค้อวัง

ป่าติ้ว

ทรายมูล

กุดชุม

ไทยเจริญ

เลิงนกทา

1

สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

192

74

49

49

20

-

-

-

-

-

2

สนง.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2

187

-

-

-

-

30

24

49

24

60

3

สนง.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

27

5

4

2

1

2

2

4

2

5

4

สนง.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยจังหวัดยโสธร

9

1

1

1

1

1

1

1

1

1

5

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

2

2

-

-

-

-

-

-

-

-

6

สนง.คณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดยโสธร

10

3

-

2

-

-

1

2

-

2

7

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

19

7

2

1

1

-

-

1

4

3

8

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

271

62

32

32

14

27

14

29

17

44

9

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ :
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดยโสธร

1

1

-

-

-

-

-

-

-

-

10

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ :
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์

1

-

1

-

-

-

-

-

-

-

11

กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

1

-

-

-

-

-

-

-

-

1

12

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

3

1

-

-

-

-

1

-

-

1

 

รวม

723

156

89

87

37

60

43

86

48

117

     หมายเหตุ : รวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดยโสธร

1.5.6 วิถีชีวิต
                  จังหวัดยโสธรเป็นเมืองที่ประชากรโดยทั่วไปสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีอาชีพ มีรายได้เพียงพอสำหรับการดำรงชีพและการดำเนินชีวิตจะเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวยโสธร โดยการดำเนินชีวิตของประชาชนจะดำรงตนตามแบบวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามมีภูมิคุ้มกันทางสังคม สามารถปรับตัวได้อย่างผสมกลมกลืนกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีศิลปวัฒนธรรมประเพณี และสินค้าของดีที่สร้างสรรค์มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น หมอนขิด เครื่องจักสาน เครื่องทองเหลือง ข้าวหอมมะลิอินทรีย์     ผ้าไหม ผ้าฝ้าย และสินค้าอื่นๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งสิ่งสรรค์สร้างเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกิดกับคนในชุมชนซึ่งถือว่าเป็นการดำรงชีวิตแบบวิถีอีสานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.5.7 ศาสนา
1) พระพุทธศาสนา จังหวัดยโสธรมีวัด/สำนักสงฆ์ ๖6๐ แห่ง ที่พักสงฆ์ ๑52 แห่ง พระสงฆ์ 2,174 รูปมีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวน ๕๓๗,748 คน คิดร้อยละ 99.66 ของประชากรจังหวัด(ข้อมูล ณ 20 ธันวาคม ๒๕๖2)


ที่

พ.ศ.

จำนวนวัด/
สำนักสงฆ์ (แห่ง)

ที่พักสงฆ์
(แห่ง)

วัดร้าง
(แห่ง)

พระสงฆ์
(รูป)

จำนวนพุทธศาสนิก(คน)

1

2553

600

227

70

3,241

537,531

2

2554

601

226

70

3,099

537,128

3

2555

605

222

70

3,091

537,300

4

2556

622

222

70

3,225

538,500

5

2557

627

222

70

2,085

537,315

6

2558

637

178

54

2,586

537,171

7

2559

640

164

56

3,280

537,171

8

2560

650

162

56

3,084

537,540

9

2561

650

162

56

2,493

537,664

    10

2562

660

152

56

2,174

537,748

          ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดยโสธร

                   2) ศาสนาอื่น ๆ ศาสนาคริสต์มีโบสถ์คริสต์ 28 แห่ง และศาสนาอิสลามมัสยิด 1 แห่ง
1.5.7 วัฒนธรรมประเพณี จังหวัดยโสธรมีวัฒนธรรมประเพณีแบบชาวอีสาน โดยมีงานประเพณีบั้งไฟเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดยโสธร เป็นงานระดับนานาชาติ ในเขตเทศบาลเมืองยโสธร จัดในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมทุกปี งานแห่มาลัยข้าวตอกจัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ก่อนวันมาฆะบูชาหนึ่งวันของทุกปีงานประเพณีบุญคูณลาน งานประเพณีจุดไฟตูมกาคืนวันออกพรรษา งานนมัสการพระธาตุพระอานนท์ งานนมัสการพระธาตุกู่จานและงานประเพณีที่น่าสนใจที่จัดขึ้นตามฮีตสิบสอง


                  ประเพณีตามฮีตสิบสอง

เดือน

เทศกาลประเพณี

สถานที่จัดกิจกรรมที่โดดเด่น

มกราคม

1.ประเพณีบุญคูณลาน
2.ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่

- ที่ว่าการอำเภอเลิงนกทา
- ที่ว่าการอำเภอกุดชุม

กุมภาพันธ์

1. ประเพณีบุญข้าวจี่
2. ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก

- ที่ว่าการอำเภอทรายมูล
- ที่ว่าการอำเภอมหาชนะชัย

มีนาคม

ประเพณีบุญผะเหวดฟังเทศน์มหาชาติ

บ้านฟ้าห่วน อำเภอค้อวัง

เมษายน

ประเพณีสงกรานต์

อำเภอเมืองยโสธร และทุกอำเภอ

พฤษภาคม

ประเพณีบุญบั้งไฟ

อำเภอเมืองยโสธร และทุกอำเภอ

มิถุนายน

ประเพณีบุญเบิกบ้าน

บ้านโนนใหญ่  อำเภอกุดชุม

กรกฎาคม

ประเพณีบุญเข้าพรรษา

บ้านสร้างแป้น  อำเภอมหาชนะชัย

สิงหาคม

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

บ้านโพธิ์ไทร  อำเภอป่าติ้ว

กันยายน

ประเพณีบุญข้าวสาก

ทุกอำเภอ

ตุลาคม

 ประเพณีการจุดไฟตูมกาช่วงเทศกาลออกพรรษา

ที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร , บ้านทุ่งแต้

พฤศจิกายน

1. ประเพณีบุญกฐิน
2. ประเพณีลอยกระทง
3. ประเพณีแข่งเรือ

- อำเภอเมืองยโสธร
- อำเภอเมืองยโสธร
- อำเภอเมืองยโสธร, อำเภอมหาชนะชัย
อำเภอค้อวัง

ธันวาคม

1.ประเพณีบุญปริวาสกรรม

2.งานประเพณีแห่ดาวเทศกาลคริสต์มาส 

-บ้านนาเวียง ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว
-วัดอัครเทวดามีคาแอลซ่งแย้
ตำบลคำเตย  อำเภอไทยเจริญ

1.5.8 เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญและมีชื่อเสียงของจังหวัด
                           1) ด้านหัตถกรรม/ช่างฝีมือ

ที่

รายการ

ตำบล

อำเภอ

1

การแกะลายบั้งไฟ  บ้านสิงห์ท่า

ในเมือง

เมืองยโสธร

2

การจักสานบ้านทุ่งแต้

ทุ่งแต้

เมืองยโสธร

3

การทำเครื่องทองเหลืองบ้านนาสะไมย์

นาสะไมย์

เมืองยโสธร

4

การแกะสลักบานประตู บ้านนาสะไมย์

นาสะไมย์

เมืองยโสธร

5

การทำเกวียนโบราณ บ้านนาสะไมย์

นาสะไมย์

เมืองยโสธร

6

การปั้นหม้อดิน

น้ำคำ

เมืองยโสธร

7

การทำผ้าฝ้าย ผ้าไหมบ้านดอนยาง

ค้อเหนือ

เมืองยโสธร

8

การทำจักรสานกระติบข้าวบ้านทุ่งอีโอก

ตำบลทุ่งนางโอก

เมืองยโสธร

9

การทอผ้าไหมพื้นเมือง บ้านหัวเมือง

หัวเมือง

มหาชนะชัย

10

การทำของที่ระลึกมาลัยข้าวตอก

ฟ้าหยาด

มหาชนะชัย

11

การทำผ้าฝ้าย ผ้าไหม พื้นเมืองบ้านบึงแก

บึงแก

มหาชนะชัย

12

การทำเสือกกแปรรูปบ้านสร้างแป้น

สงยาง

มหาชนะชัย

13

การทำผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าขาวม้าลายตาม่อง

สวาท

เลิงนกทา

14

การทอผ้าพื้นเมือง  บ้านห้องแซง

ห้องแซง

เลิงนกทา

15

การทอผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกุดแข้ด่อน

กุดเชียงหมี

เลิงนกทา

16

การทำไม้กวาดดอกหญ้า

คำเตย

ไทยเจริญ

17

การทำผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านนาเฮือง

น้ำคำ

ไทยเจริญ

18

การทำเสือกกแปรรูปกระเป๋า บ้านโนนแดง

ส้มผ่อ

ไทยเจริญ

19

การทำของที่ระลึกดาวบ้านซงแย้

คำเตย

ไทยเจริญ

20

การทำเสือกกแปรรูปบ้านนาโปร่ง

ทรายมูล

ทรายมูล

21

การทอผ้าพื้นเมืองบ้านนาเวียง

นาเวียง

ทรายมูล

22

การทำบั้งไฟโบราณบ้านฟ้าห่วน

ฟ้าห่วน

ค้อวัง

23

การทำผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติบ้านน้ำอ้อม

น้ำอ้อม

ค้อวัง

24

การทำบั้งไฟโบราณบ้านโนนใหญ่

ห้วยแก้ง

กุดชุม

25

การทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านโคกสวาท

นาโส่

กุดชุม

26

การทำหมอนขวานผ้าขิด บ้านศรีฐาน

ศรีฐาน

ป่าติ้ว

27

การทำผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านศรีฐาน

ศรีฐาน

ป่าติ้ว

                                2) ด้านอาหาร

ที่

รายการ

ตำบล

อำเภอ

1

การทำปลาส้ม

ในเมือง

เมืองยโสธร

2

การทำลอดช่อง

ในเมือง

เมืองยโสธร

3

การทำไข่มดแดงอัดกระป๋อง

ค้อเหนือ

เมืองยโสธร

4

การทำข้าวกาบาเพื่อสุขภาพ

เขื่องคำ

เมืองยโสธร

5

ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ปลอดสารพิษ

น้ำอ้อม

ค้อวัง

6

แปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง

ฟ้าห่วน

ค้อวัง

7

ยาสมุนไพรพื้นบ้านบ้านท่าลาด

นาโส่

กุดชุม

8

เนื้อโคขุนบ้านหนองแหน

หนองแหน

กุดชุม

9

ไก่ย่างบ้านแคน

ดงแคนใหญ่

คำเขื่อนแก้ว

10

การทำข้าวหอมมะลิอินทรีย์ปลอดสารพิษ

บากเรือ

มหาชนะชัย

11

การทำปลาร้าแปรรูปบ้านเชียงเพ็ง

เชียงเพ็ง

ป่าติ้ว

12

แตงโมหวานบ้านกระจาย

กระจาย

ป่าติ้ว

                              3) ด้านศิลปะการแสดงและดนตรี   

ที่

รายการ

ตำบล

อำเภอ

1

การแสดงหมอลำเพลินบ้านหนองเลิง

แคนน้อย

คำเขื่อนแก้ว

2

การแสดงหนังประโมทัย

โพนทัน

คำเขื่อนแก้ว

3

การแสดงหมอลำเพลินบ้านคำเตย

คำเตย

ไทยเจริญ

4

การแสดงรำวงย้อนยุค

ศรีฐาน

ป่าติ้ว

5

การแสดงกลองยาวสายน้ำทิพย์
บ้านกลางสระเกษ

โพธิ์ไทร

ป่าติ้ว

6

การแสดงรำวงย้อนยุค “สันติสุขโชว์”

ค้อวัง

ค้อวัง

7

การฟ้อนกลองตุ้มบ้านฟ้าห่วน

ฟ้าห่วน

ค้อวัง

8

การแสดงของชนเผ่าภูไทบ้านห้องแซง

ห้องแซง

เลิงนกทา

9

การแสดงวงโปงลางเพชรภูดิน
(โรงเรียนเลิงนกทา)

สามแยก

เลิงนกทา

10

การแสดงกั๊บแก้บ

สำราญ

เมืองยโสธร

11

การแสดงกลองยาวขั้นไดใหญ่ (เยาวชน)

ในเมือง

เมืองยโสธร

12

การแสดงหนังประโมทัย บ.บันเทิงศิลป์

ไผ่

ทรายมูล

13

การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งร.ร.ทรายมูล

ทรายมูล

ทรายมูล

14

การแสดงกลองยาวชัยพฤกษ์

สงยาง

มหาชนะชัย

15

การแสดงวงโปงลางพระเรืองไชยชำนะ
(โรงเรียนมหาชนะชัยพิทยาคม)

ฟ้าหยาด

มหาชนะชัย

                             
                           4) ด้านโบราณสถาน (ข้อมูลจากกรมศิลปากร) 
แยกเป็นรายอำเภอ โบราณสถาน และโบราณวัตถุศิลปะวัตถุ(ข้อมูลจากสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี)
แยกเป็นโบราณสถานได้รับประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา จำนวน 14 แห่ง

ที่

ชื่อโบราณสถาน

ที่ตั้ง

สิ่งสำคัญ

บ้าน

ตำบล

อำเภอ

1

ธาตุถาดทอง (ธาตุก่อง
ข้าวน้อย บ้านตาลทอง)

ตาดทอง

ตาดทอง

เมือง

1. ธาตุ ก่ออิฐถือปูน
2. ใบเสมาหินทราย

2

วัดทุ่งสะเดา (ธาตุลูกฆ่าแม่ หรือธาตุก่องข้าวน้อย)

สะเดา

ตาดทอง

เมือง

ธาตุ ก่ออิฐถือปูน

3

วัดมหาธาตุ

-

ในเมือง

เมือง

1.หอไตร
2.พระธาตุพระอานนท์

4

เสาหิน

บึงแก

บึงแก

มหาชนะชัย

ศิลาจารึก

5

วัดพระพุทธบาท

หนองยาง

หัวเมือง

มหาชนะชัย

1.รอยพระพุทธบาท
2.ศิลาจารึก
3.พระพุทธรุปนาคปรก

6

ดงเมืองเตย

สงเปือย

สงเปือย

คำเขื่อนแก้ว

1.ฐานโบราณสถาน
2.ศิลาจารึก

7

ดงศิลาแลงใกล้บ้านศรีฐาน

-

กระจาย

ป่าติ้ว

ใบเสมาศิลาแลง

8

กู่บ้านงิ้ว

งิ้ว

กู่จาน

คำเขื่อนแก้ว

1.ฐานโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลง

9

วัดสุริโย (วัดกำแมด)

กำแมด

กำแมด

กุดชุม

สิม (โบสถ์)

10

วัดบูรพาโนนเปือย

โนนเปือย

โนนเปือย

กุดชุม

สิม (โบสถ์)

11

วัดธาตุทอง

เกี้ยงเก่า

โพนงาม

กุดชุม

พระธาตุ 2 องค์

12

วัดสระไตรนุรักษ์

นาเวียง

นาเวียง

ทรายมูล

หอไตรกลางสระน้ำ

13

วัดธรรมรังษีนิคมเขต

นากอก

บุ่งค้า

เลิงนกทา

สิม (โบสถ์)

14

เจดีย์วัดสิงห์ท่า

สิงห์ท่า

ในเมือง

เมือง

เจดีย์

                   
                  5) ผลิตภัณฑ์ศูนย์บันดาลไทย :
 พัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากชุมชนคุณธรรม จังหวัดยโสธร ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2561  จำนวน 21 รายการ 

ลำดับ

อำเภอ

ชื่อผลิตภัณฑ์

1

อำเภอเมืองยโสธร

1.ผลิตภัณฑ์กะติบข้าวชุมชนคุณธรรมวัดทุ่งอีโอก
2.ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดหมี่ ผ้าไหมทอมือบ้านดอนยาง

2

อำเภอไทยเจริญ

1.ผลิตภัณฑ์กลุ่มทอผ้าฝ้ายมัดหมี่บ้านนาเฮือง
2.ผลิตภัณฑ์การเป๋าผ้าย้อมสีธรรมชาติแปรรูป
ของชุมชนคุณธรรมวัดอัครเทวดามีคาแอลซ่งแย้

3

อำเภอค้อวัง

1.ผลิตภัณฑ์เสื่อกกไหล ชุมชนคุณธรรมวัดเหล่าน้อย
2.ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมัดหมี่ ชุมชนคุณธรรมวัดชัยชนะ

4

อำเภอป่าติ้ว

1.ผลิตภัณฑ์เสื่อกก ชุมชนคุณธรรมวัดเชียงเพ็ง
2.ผลิตภัณฑ์ผ้าลายสิงห์ศรีฐาน ลายดอกบัว ลายสายฝัน ชุมชนคุณธรรมศรีฐานนอก

5

อำเภอมหาชนะชัย

1.ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าพื้นเมือง ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิกาญจนาราม
2.ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองลายลูกหวาย ชุมชนคุณธรรมวัดโพธิกาญจนาราม
3.ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกมาลัยข้าวตอก ชุมชนคุณธรรมวัดฟ้าหยาด

6

อำเภอคำเขื่อนแก้ว

1.ผลิตภัณฑ์เสื่อกกกู่จาน ชุมชนคุณธรรมวัดกู่จาน
2.ผลิตภัณฑ์น้ำเนื้อในฝักคูณ ชุมชนคุณธรรมวัดดอนแก้ว
3.ผลิตภัณฑ์ข้าวโป่ง ชุมชนคุณธรรมวัดหนองเลิง

7

อำเภอกุดชุม

1.ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านโคกสวาท ชุมชนคุณธรรมวัดท่าลาด
2.ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ชุมชนคุณธรรมวัดท่าลาด

8

อำเภอทรายมูล

1.ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเปลือกกล้วย ชุมชนคุณธรรมวัดนาโป่ง
2.ผลิตภัณฑ์หมวกจากเปลือกกล้วย ชุมชนคุณธรรมวัดนาโป่ง
3.ผลิตภัณฑ์กระเป๋าพญาคันคากจากไหล ชุมชนคุณธรรมวัดนาโป่ง

9

อำเภอเลิงนกทา

1.ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าขาวม้าลายตาม่อง ชุมชนคุณธรรมวัดศรีบุญเรือง
2.ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นบ้าน บ้านกุดแข้ด่อน

               6) ภูมิปัญญาชาวบ้านที่สำคัญ ได้แก่

ที่    
 

รายการ

ตำบล

อำเภอ

1

การแกะลายบั้งไฟ  บ้านสิงห์ท่า

ในเมือง

เมืองยโสธร

2

การจักสานบ้านทุ่งแต้

ทุ่งแต้

เมืองยโสธร

3

การทำเครื่องทองเหลืองบ้านนาสะไมย์

นาสะไมย์

เมืองยโสธร

4

การแกะสลักบานประตู บ้านนาสะไมย์

นาสะไมย์

เมืองยโสธร

5

การทำเกวียนโบราณ บ้านนาสะไมย์

นาสะไมย์

เมืองยโสธร

6

การปั้นหม้อดิน

น้ำคำ

เมืองยโสธร

7

การทำผ้าฝ้าย ผ้าไหมบ้านดอนยาง

ค้อเหนือ

เมืองยโสธร

8

การทำจักรสานกระติบข้าวบ้านทุ่งอีโอก

ตำบลทุ่งนางโอก

เมืองยโสธร

9

การทอผ้าไหมพื้นเมือง บ้านหัวเมือง

หัวเมือง

มหาชนะชัย

10

การทำของที่ระลึกมาลัยข้าวตอก

ฟ้าหยาด

มหาชนะชัย

11

การทำผ้าฝ้าย ผ้าไหม พื้นเมืองบ้านบึงแก

บึงแก

มหาชนะชัย

12

การทำเสือกกแปรรูปบ้านสร้างแป้น

สงยาง

มหาชนะชัย

13

การทำผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าขาวม้าลายตาม่อง

สวาท

เลิงนกทา

14

การทอผ้าพื้นเมือง  บ้านห้องแซง

ห้องแซง

เลิงนกทา

15

การทอผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกุดแข้ด่อน

กุดเชียงหมี

เลิงนกทา

16

การทำไม้กวาดดอกหญ้า

คำเตย

ไทยเจริญ

17

การทำผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านนาเฮือง

น้ำคำ

ไทยเจริญ

18

การทำเสือกกแปรรูปกระเป๋า บ้านโนนแดง

ส้มผ่อ

ไทยเจริญ

19

การทำของที่ระลึกดาวบ้านซงแย้

คำเตย

ไทยเจริญ

20

การทำเสือกกแปรรูปบ้านนาโปร่ง

ทรายมูล

ทรายมูล

21

การทอผ้าพื้นเมืองบ้านนาเวียง

นาเวียง

ทรายมูล

22

การทำบั้งไฟโบราณบ้านฟ้าห่วน

ฟ้าห่วน

ค้อวัง

23

การทำผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติบ้านน้ำอ้อม

น้ำอ้อม

ค้อวัง

24

การทำบั้งไฟโบราณบ้านโนนใหญ่

ห้วยแก้ง

กุดชุม

25

การทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านโคกสวาท

นาโส่

กุดชุม

26

การทำหมอนขวานผ้าขิด บ้านศรีฐาน

ศรีฐาน

ป่าติ้ว

27

การทำผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านศรีฐาน

ศรีฐาน

ป่าติ้ว


1.5.9   ยาเสพติด

            สถานการณ์ยาเสพติดทั่วไปจังหวัดยโสธรมีลักษณะเป็นพื้นที่ทางผ่านและเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ตอนในของประเทศโดยเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับจังหวัดต่างๆที่เป็นจังหวัดชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน การลักลอบลำเลียงยาเสพติดผ่านพื้นที่มีทั้งรถยนต์ส่วนตัว และรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งยาเสพติดที่ระบาดในพื้นที่เป็นยาเสพติดที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านและส่วนหนึ่งเป็น ยาเสพติดย้อนกลับจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง แต่ภาพรวมสถานการณ์ยาเสพติดอยู่ในระดับเบาบาง – ปานกลาง พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดมาก ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอกุดชุม ตามลำดับ  

1.5.10 อาชญากรรม
จังหวัดยโสธรมีปัญหาอาชญากรรม โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มคดีอาญา
1) กลุ่มความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างการและเพศ
2) กลุ่มความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
3) กลุ่มฐานความผิดพิเศษ
4) กลุ่มความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
โดยจังหวัดยโสธรมีสถิติคดีอาญาที่ได้รับแจ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2558 และจำนวนคดีอาญาที่มีการจับกุมก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557   รายละเอียดดังนี้

สถิติข้อมูล

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

จำนวนคดีอาญาที่ได้รับแจ้ง

4,008

1,369

1,341

1,472

1,468

จำนวนคดีอาญาที่มีการจับกุม

4,685

1,592

1,783

1,838

1,865



1.5.11 ด้านการหย่าร้าง 
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร พบว่า จังหวัดยโสธรมีสถิติการหย่าร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี ๒๕๕๘ ถึง ปี ๒๕๖๐

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี2560

640

609

609

647

681

 
1.5.12 สาธารณภัย

                      สถานการณ์สาธารณภัยของจังหวัดยโสธร มีทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ ทั้งในฤดูกาลและนอกฤดูกาล ได้แก่ อุทกภัย ดินโคล่นถล่ม ภัยแล้ง พายุหมุนเขตร้อน ภัยหนาวไฟป่า และสาธารณภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ ไฟป่า อัคคีภัย อุบัติเหตุ และสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลต่าง ๆเช่น เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น

1.6 โครงสร้างพื้นฐาน
      1) การคมนาคมขนส่ง การเดินทางมายังจังหวัดยโสธร มีถนนสายสำคัญ ได้แก่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23, 202 และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2083, 2169, 2043 โดยเส้นทางการเดินทางมี 2 เส้นทาง คือ สายเก่า: กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-ยโสธร และสายใหม่: กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-ประทาย-พยัคฆ์ภูมิ-เกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิยโสธรโดยสามารถเดินทางได้ดังนี้ 
1.1) รถยนต์ : ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปทางอำเภอพิมายผ่านอำเภอหนองสองห้องและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิแล้วจึงถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทาง 531 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง
1.2) สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร มี 1 แห่ง มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้สถานี จำนวน 22 เส้นทาง เฉลี่ยวันละ 200 เที่ยวมีผู้โดยสาร เฉลี่ยวันละประมาณ 700-1,000 คน(ข้อมูล ณ 1 กันยายน 2561) มีเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ดังนี้
                1.2.1) เส้นทางภายในเขตเมืองและเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 1 เส้นทาง คือ บ้านตาดทอง-บ้านบาก
                1.2.2) เส้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ไปยังส่วนภูมิภาค จำนวน 3 เส้นทาง
                1.2.3) เส้นทางระหว่างจังหวัดหรือคาบเกี่ยวระหว่างเขตจังหวัดในส่วนภูมิภาคจำนวน 15 เส้นทาง
                1.2.4) เส้นทางในเขตจังหวัด ซึ่งอาจจะประกอบด้วยเส้นทางสายหลักสายเดียวหรือเส้นทางสายหลักและเส้นทางสายย่อยซึ่งแยกออกจากเส้นทางสายหลักไปยังอำเภอ หมู่บ้าน หรือเขตชุมชน จำนวน 7 เส้นทาง นอกจากนี้ มีวินจักรยานยนต์รับจ้างในเขตอำเภอเมืองยโสธร จำนวน 10 วิน
           1.3) ทางรถไฟและเครื่องบิน : จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อรถยนต์มาที่จังหวัดยโสธรอีกประมาณ 99 กิโลเมตรและในอนาคตระยะต่อไป จังหวัดยโสธรจะมีทางรถไฟผ่านพื้นที่อำเภอเลิงนกทาและการพัฒนาและผลักดันให้สนามบินเลิงนกทาเป็นสนามบินพาณิชย์
       2) ถนน จังหวัดยโสธร มีถนนสายหลักที่เชื่อมไปสู่จังหวัด อำเภอ แหล่งท่องเที่ยว และแหล่งขนส่งสินค้าทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงโดยมีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
            2.1) แขวงทางหลวงยโสธร มีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดยโสธรเป็นทางหลวงแผ่นดิน 6 สายทาง ได้แก่
                    2.1.1)  ทางหลวงหมายเลข 23 ตอน เสลภูมิ – ยโสธร ระหว่าง กม.153 + 652 – กม.175 + 527, ตอน ยโสธร – บ้านย่อระหว่าง กม.175 + 527 – กม.175 + 852 ,กม.179 + 845 – กม.190 + 562, ตอน ยโสธร – บ้านสวน ระหว่าง กม.190 + 562 – กม.220+182 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดร้อยเอ็ด ไปยังจังหวัดยโสธร, จังหวัดอุบลราชธานี
                   2.1.2)  ทางหลวงหมายเลข 202 ตอน ยโสธร – สะพานคลองลำเซ ระหว่าง กม.266 + 412 – กม.298 + 560 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร, ไปยังจังหวัดอำนาจเจริญ
                   2.1.3)  ทางหลวงหมายเลข 2083 ตอน สะเดา – คำเขื่อนแก้ว ระหว่าง กม.33 + 699 – กม.60 + 673เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร ไปยังจังหวัดศรีสะเกษ
                   2.1.4)  ทางหลวงหมายเลข 2043 ตอน ยางเฌอ–มหาชนะชัย ระหว่างกม.75+ 090 – กม.88 + 139เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร ไปยังจังหวัดศรีสะเกษ
                   2.1.5)  ทางหลวงหมายเลข 2169 ตอน ยโสธร–กุดชุม ระหว่างกม.2 + 234 – กม.37 + 241 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร ไปยังจังหวัดมุกดาหาร
                   2.1.6)  ทางหลวงหมายเลข 2351 ตอน พลไว – แข้โพนเมือง ระหว่าง กม.0+000 – กม.35 + 200เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร ไปยังจังหวัดศรีสะเกษ
               2.2) แขวงทางหลวงชนบทยโสธร มีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดยโสธรจำนวน 32 สายทาง ระยะทาง 610.023  กิโลเมตร  ในปี พ.ศ. 2559 มีการจัดตั้งหมวดบำรุงทางหลวงชนบทเลิงนกทา ตั้งอยู่ที่ตำบลสร้างมิ่ง  อำเภอเลิงนกทา เพื่อให้สามารถดูแลบำรุงรักษาโครงข่ายทางหลวงชนบทให้ครอบคลุมทั่วถึง โดยแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้
                       2.2.1)แขวงทางหลวงชนบทยโสธร  รับผิดชอบในเขตพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร  อำเภอค้อวัง อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย  อำเภอป่าติ้ว อำเภอทรายมูล  อำเภอกุดชุม มีจำนวนสายทาง 21  สายทาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 365.853 กิโลเมตร ผิวจราจรลาดยาง 352.156 กิโลเมตร ผิวจราจรคอนกรีต 13.697 กิโลเมตร สะพานในสายทาง จำนวน 60 แห่ง รวมความยาวสะพาน2,149 เมตร
                       2.2.2) หมวดบำรุงทางหลวงชนบทเลิงนกทา รับผิดชอบในเขตพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าติ้ว อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ อำเภอเลิงนกทา มีจำนวนสายทาง 11 
สายทาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 244.170 กิโลเมตร ผิวจราจรลาดยาง 237.802 กิโลเมตร ผิวจราจรคอนกรีต 6.368 กิโลเมตร
                2.3) อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะรับผิดชอบพัฒนาถนนหนทางเชื่อมโยงระดับอำเภอตำบล หมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม ในหลายเส้นทางชาวบ้านยังคง
มีความต้องการได้รับการพัฒนาด้านถนนให้สามารถสัญจรไปมาสะดวกปลอดภัยและขนส่งผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเส้นทางไปสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
        3) ไฟฟ้า  จังหวัดยโสธรมี 885 หมู่บ้าน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธรซึ่งมีหน้าที่จัดหาพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการแก่ประชาชน มีสถานีจ่ายไฟฟ้า ที่สามารถจ่ายไฟได้ 100 MVA จำนวน  1 แห่ง โหลดการใช้ไฟฟ้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนในปัจจุบัน 44 เมกกะวัตต์ คิดเป็น ร้อยละ 40  เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน มีการให้บริการรับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า ขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า บริการแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธรมีสำนักงานสาขา และสาขาย่อยให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยโสธร ดังต่อไปนี้
           (1)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาอำเภอมหาชนะชัย
           (2)  การไฟฟ้าส่วนมิภาคสาขาเลิงนกทา (สังกัดการฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอำนาจเจริญ)
           (3)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอคำเขื่อนแก้ว
           (4)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอกุดชุม
           (5)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอทรายมูล
           (6)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอป่าติ้ว
           (7)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอไทยเจริญสถานการณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้ครบทุกหมู่บ้านจำนวน ผู้ขอใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันมีจำนวน 167,630 ราย (ข้อมูล  ณ กันยายน 2561) โดยปี 2560 ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 167,073 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ มีจำนวน 663 ครัวเรือน

                                       

จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้และไม่มีไฟฟ้าใช้


อำเภอ

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

มีไฟฟ้าใช้(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

มีไฟฟ้าใช้(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

มีไฟฟ้าใช ้
(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

มีไฟฟ้าใช้(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

มีไฟฟ้าใช้(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

เมืองยโสธร

40,766

486

41,906

335

43,000

290

44,121

210

45,229

123

เลิงนกทา

25,508

298

26,667

185

27,854

144

29,020

124

30,157

89

คำเขื่อนแก้ว 

17,851

341

18,318

322

18,795

303

19,315

241

19,844

124

มหาชนะชัย

13,954

269

14,269

268

14,596

266

15,034

153

15,412

86

กุดชุม

19,348

165

19,705

132

20,024

119

20,324

120

20,645

84

ป่าติ้ว           

9,589

144

9,877

132

10,162

120

10,465

87

10,730

76

ทรายมูล

8,077

118

8,365

98

8,638

81

8,911

69

9,179

42

ค้อวัง 

6,421

98

6,526

76

6,626

62

6,553

54

6,704

23

ไทยเจริญ

7,862

83

8,197

69

8,520

63

8,877

23

9,173

16

รวม

149,376

2,002

153,830

1,617

158,215

1,448

162,620

1,081

167,073

663

       ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธร

        4) ประปา จังหวัดยโสธรมีสำนักงานประปาภูมิภาค จำนวน 3 สาขา 2 หน่วยบริการ ได้แก่ สำนักงาน กปภ. สาขายโสธร, สำนักงาน กปภ. สาขามหาชนะชัย, สำนักงาน กปภ. สาขาเลิงนกทา, หน่วยบริการป่าติ้ว (ในสังกัดสำนักงาน กปภ. สาขาอำนาจเจริญ)และหน่วยบริการค้อวัง บริการในเขตเทศบาลและบริเวณใกล้เคียงในชุมชน 7 อำเภอ คืออำเภอเมืองยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอมหาชนะชัย อำเภอค้อวัง อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอป่าติ้ว ส่วนอำเภอที่เหลือเป็นประปาของเทศบาลตำบลหรือใช้ระบบปั๊มน้ำบาดาลสำหรับในเขตชนบท จากการสำรวจข้อมูล กชช. 2ค ปี 2556จำนวน 885 หมู่บ้าน ใช้ระบบประปาหมู่บ้านหรือลักษณะประปาหมู่บ้านเพื่อเป็นน้ำใช้ จำนวน 839 แห่ง และยังไม่มีระบบประปาหมู่บ้านหรือน้ำใช้เพียงพอทุกครัวเรือน จำนวน 46 หมู่บ้านในจำนวนนี้อาจมีหลายแห่งไม่สามารถทำการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านเพิ่มเติมได้อีกเพราะมีปัญหาปริมาณน้ำหรือไม่มีคุณภาพ จะต้องจัดหาแหล่งน้ำ ผิวดินมาเป็นน้ำดิบต่อไป
               แหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตประปา
                      - กปภ.สาขายโสธร กปภ.สาขามหาชนะชัย และหน่วยบริการค้อวัง ใช้แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำชี
                     - กปภ.สาขาเลิงนกทา ใช้แหล่งน้ำดิบหลักจากลำเซบาย แหล่งน้ำสำรองคือ อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจนและอ่างเก็บน้ำหนองแฝก
                     - หน่วยบริการป่าติ้ว (กปภ.สาขาอำนาจเจริญ) ใช้แหล่งน้ำดิบจากลำเซบาย และสถานีผลิตน้ำหนองเรือ
              พื้นที่ให้บริการ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร , อำเภอเลิงนกทา , อำเภอกุดชุม, อำเภอมหาชนะชัย,อำเภอค้อวัง, อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอป่าติ้ว
                                                                                    กำลังการผลิตและการให้บริการรวมทั้ง 4 แห่ง


ปี พ.ศ.

กำลังผลิต
ที่ใช้งาน
(ลบ.ม./วัน)

จำนวนน้ำ
ที่ผลิต
(ลบ.ม.)

ปริมาณน้ำผลิตจ่าย
(ลบ.ม.)

ปริมาณน้ำ
ที่จำหน่าย
(ลบ.ม.)

จำนวนผู้ใช้น้ำประปา
(ราย)

2557

25,207

7,088,035

6,234,163

5,616,199

20,269

2558

25,299

5,920,334

5,431,192

4,792,963

21,015

2559

25,299

7,634,812

6,688,099

5,246,862

21,961

2560

25,299

6,895,375

6,550,905

5,329,837

23,486

2561

25,299

4,164,979

3,930,206

3,265,541

23,825

                               ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาคสาขายโสธร

        5) โทรศัพท์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีส่วนบริการลูกค้าจังหวัดยโสธร ประกอบด้วยศูนย์บริการลูกค้า 2 แห่ง  ดังนี้
                     (1) ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที สาขายโสธร  ดูแลพื้นที่  อำเภอเมือง , อำเภอทรายมูล, อำเภอป่าติ้วอำเภอคำเขื่อนแก้ว , อำเภอมหาชนะชัย  และ  อำเภอค้อวัง
                     (2) ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที สาขาเลิงนกทา ดูแลพื้นที่ อำเภอกุดชุม , อำเภอไทยเจริญ และ อำเภอเลิงนกทา    

ข้อมูลบริการ

ปี พ.ศ.

2559

2560

2561

โทรศัพท์พื้นฐาน (Fixedline)
- บ้านพัก

5,746

5,703

5,140

อินเทอร์เน็ต
- บริการ FTTx
- บริการ ADSL
- บริการ Wi-Net

1,778
3,072
339

5,061
1,385
109

7,079
359
44

หมายเหตุ :ข้อมูลดังกล่าวเป็นจำนวนเลขหมายเปิดใช้ของผู้ใช้บริการในพื้นที่จังหวัดยโสธรและในอนาคตบริการ ADSL ,บริการ Wi-Net จะถูกทดแทนด้วยบริการ FTTx
         6) อินเทอร์เน็ต ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://benchmark.moi.go.th จังหวัดยโสธรมีสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 อย่างไรก็ตามสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2560ร้อยละ 39.39 ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (ร้อยละ 49.69)

ค่าสถิติ

ค่าอันดับใน 76 จังหวัด

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

อัตราการเปลี่ยนแปลง

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

อันดับการเปลี่ยนแปลง

24.23

29.63

39.39

เพิ่ม

72

72

64

ขึ้น 8 อันดับ


           7)  การสื่อสารคมนาคม
              

1) ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 9 แห่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองยโสธร 1 แห่ง อำเภอคำเขื่อนแก้ว 2 แห่ง และอำเภอที่เหลืออำเภอละ 1 แห่ง ยกเว้นอำเภอไทยเจริญโดยมีบริการที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ บริการรับฝาก-ส่งต่อ-นำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ธรรมดาและประเภทมีหลักฐาน (ลงทะเบียน) และพัสดุไปรษณีย์,บริการรับฝากสิ่งของส่งทางไปรษณีย์แบบด่วนพิเศษ EMS ส่งสิ่งของขนาดใหญ่ Logispost ทั้งในและต่างประเทศ, บริการการเงินในประเทศได้แก่ธนาณัติธรรมดาและออนไลน์,บริการการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ Western Union, บริการรับชำระค่าบริการสาธารณูปโภค และรับชำระค่าบริการอื่น ๆ ตามใบแจ้งหนี้ และจำหน่ายสินค้าไปรษณีย์ทั่วไปและสินค้าฝากขายของภาคเอกชน
2) สถานีวิทยุกระจายเสียง 
จำนวน 5 แห่ง และมีสถานีวิทยุชุมชนกระจายอยู่ในตำบลหมู่บ้าน จำนวน 59 แห่ง
3) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จำนวน 3 แห่ง มีหนังสือพิมพ์เสียงมวลชนยโสธร, หนังสือพิมพ์ เอส วีไอพี,หนังสือพิมพ์ โมเดรินไทมน์นิวส์, มีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง จำนวน 7 คน ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ทุกช่องประจำจังหวัด จำนวน 8 คน สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม จำนวน 1 แห่ง และสถานีเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 แห่ง
4) จังหวัดยโสธรได้จัดทำเว็บไซต์ (website) เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลของจังหวัด ได้แก่ เว็บไซต์จังหวัดยโสธร (www.yasothon.go.th) สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร
(www.prd.go.th/yasothon) เว็บไซต์ท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร (www.visityasothon.com) และเฟสบุ๊คจังหวัดยโสธร (www.facebook.com/j.yasothon/) และประสานติดต่อข่าวสารราชการกับจังหวัดยโสธร ได้ที่ E–Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือสำนักงานจังหวัดยโสธร โทร./โทรสาร 0 4571 4212, 0 4571 2722, 0 4571 5523 (มท.) 43523, 43529, 43522, 43521

1.7 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       1) ทรัพยากรป่าไม้ เว็บไซต์กรมป่าไม้ และเว็บไซต์สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้เผยแพร่ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้แปลตีความจากภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ. 2561 ปรากฏว่าพื้นที่ป่าไม้แปลตีความจากภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ. 2561 ของจังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ 225,367.61 ไร่ หรือร้อยละ 8.73 ของพื้นที่จังหวัด ลดลงจาก ปี พ.ศ. 2560 ที่มีเนื้อที่ 236,104.08 ไร่

ปี พ.ศ.

2556

2557

2558

2559

2560

2561

เนื้อที่ป่า (ไร่)  

215,303.80 

250,526.97 

 250,339.95 

246,723.85 

236,104.08

225,367.61

ร้อยละของ พ.ท.จังหวัด 

8.34 

9.71 

9.70 

9.56 

9.14

8.73

                                                         ที่มา : กรมป่าไม้ http://forestinfo.forest.go.th/
     2) ทรัพยากรดิน ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน (http://www.ldd.go.th) ชุดดินยโสธรเป็นกลุ่มชุดดินที่ 35 เป็นดินที่เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินเป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนแดงเข้มดินล่างเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีแดงปนเหลืองหรือสีแดง ลึกลงไปเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวปนทราย สีแดงหรือสีแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายความอุดมสมบูรณ์ต่ำควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดินและทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช
    3) ทรัพยากรน้ำ
3.1) แหล่งน้ำธรรมชาติ ในพื้นที่จังหวัดยโสธรมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำชีไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดบริเวณอำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัยและอำเภอค้อวัง (ยาว 110 กิโลเมตร) ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี 
            นอกจากนี้ ยังมีลำห้วยสำคัญ ๆ ไหลผ่านพื้นที่ตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัด เช่น ห้วยสะแบก ห้วยลิงโจน ลำห้วยโพง ลำเซบาย ลำน้ำยัง ลำน้ำทวน และแหล่งน้ำอื่น ๆ เช่น หนอง บึง มีอยู่ทั่วไป ซึ่งหลายแห่งมีสภาพตื้นเขิน เก็บกักน้ำได้ปริมาณน้อย เป็นปัญหาค่อนข้างมาก
                                                                   ตารางแสดงลุ่มน้ำหลัก และลุ่มน้ำย่อยในจังหวัดยโสธร

ที่

ลุ่มน้ำย่อย

ลุ่มน้ำหลัก

พื้นที่รับน้ำ
(ตร.กม.)

ปริมาณน้ำท่า
(ล้านลบ.ม.)

อำเภอในเขตลุ่มน้ำ

พื้นที่ในลุ่มน้ำ
(ตร.กม.)

1

ลำห้วยทม

โขง

180.00

66.01

เลิงนกทา

70.89

2

ลำน้ำยัง

ชี

4,145.00

228.39

กุดชุม,ทรายมูล,เมือง

398.87

3

ลำทวน

ชี

450.00

215.86

ทรายมูล,เมือง

450.00

4

ลำน้ำชี

ชี

1,260.00

1,087.23

เมือง,คำเขื่อนแก้ว,มหาชนะชัย,ค้อวัง

926.00

5

ลำเซบาย

มูล

3,050.00

1,200.92

เลิงนกทา,ไทยเจริญ,ป่าติ้,  คำเขื่อนแก้ว

1,302.77

6

ห้วยโพง

เซบาย/มูล

939.00

949.60

เลิงนกทา,ไทยเจริญ,กุดชุม,เมือง,ป่าติ้ว,คำเขื่อนแก้ว

939.00

7

ห้วยน้ำเค็ม

เสียว/มูล

70.91

68.02

มหาชนะชัย

73.91

 

รวม

 

10,094.91

3,816.03

 

4,161.44

                                             ที่มา : โครงการชลประทานยโสธร
           3.2) โครงการชลประทาน  จังหวัดยโสธรโครงการชลประทานขนาดกลาง มี 3 แห่ง คือ
                    - อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน อยู่ในตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา ความจุ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 14,544 ไร่
                    - อ่างเก็บน้ำห้วยสะแบก อยู่ในตำบลบุ้งค้า อำเภอเลิงนกทา ความจุ 30.3 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 12,672 ไร่
                     - อ่างเก็บน้ำห้วยโพง (ตอนบน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลศรีแก้ว อำเภอเลิงนกทา ความจุ ๑๒.๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตรโดยพื้นที่แต่ละอำเภอจะมีอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่ดังนี้

ลำดับ

อำเภอ

แหล่งน้ำ (แห่ง)

พื้นที่แหล่งน้ำรวม (ไร่)

แหล่งน้ำสำคัญในพื้นที่อำเภอ

1

เมืองยโสธร

121

13,281

อ่างเก็บน้ำบ้านโนนจำปา, อ่างเก็บน้ำบ้านเดิด,อ่างเก็บน้ำห้วยขี้นาก, อ่างเก็บน้ำฝายลำห้วยทวน

2

กุดชุม

87

2,412

อ่างเก็บน้ำบ้านหนองเรือ,อ่างเก็บน้ำสระประปา, อ่างเก็บน้ำหนองคำบาก

3

ทรายมูล

4

61

 

4

ไทยเจริญ

57

844

อ่างเก็บน้ำหนองฆ่า,อ่างเก็บน้ำสระพรแก้ว,อ่างเก็บน้ำหนองม้า

5

เลิงนกทา

89

9,087

อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน,อ่างเก็บน้ำห้วยสะแบก,อ่างเก็บน้ำห้วยโพง,อ่างเก็บน้ำห้วยยาง
อ่างเก็บน้ำสระหลวง,อ่างเก็บน้ำหนองบึง

6

ป่าติ้ว

70

5,130

อ่างเก็บน้ำห้วยขาม, อ่างเก็บน้ำหนองหาญ,อ่างเก็บน้ำห้วยนายาง

7

คำเขื่อนแก้ว

58

3,067

อ่างหนองเสียว, หนองแวง,อ่างเก็บน้ำบ้านปักแฮด,อ่างเก็บน้ำห้วยยาง

8

มหาชนะชัย

17

326

อ่างเก็บน้ำหนองปลาปึ่ง,บึงพระเสาร์,หนองขาม

9

ค้อวัง

49

3,047

หนองกุดต่าย,หนองห้วยพระบาง

 

รวม

552

37,255

 

                                                            ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร

                  จังหวัดยโสธรมีโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า รวม 86 แห่ง รวมเนื้อที่โครงการฯ 200,910ไร่แยกเป็น ขนาดเล็ก 83 แห่ง และขนาดกลาง 3 แห่ง โดยสูบน้ำจากแม่น้ำชี ลำน้ำยัง ลำห้วยโพง/เซบาย
            3.3) แหล่งน้ำใต้ดิน จังหวัดยโสธรมีบ่อบาดาล รวมทั้งสิ้น 1,660 บ่อ แยกดังนี้ 
                          3.3.1) บ่อบาดาลขุดเจาะโดยหน่วยงานราชการ รวม ๑,394 บ่อ ใช้งานได้ 1,394 บ่อ ชำรุด - บ่อ                 
                          3.3.2) บ่อบาดาลการประกอบกิจการน้ำบาดาลจังหวัดยโสธร เป็นบ่อบาดาลที่ผู้ประกอบการเอกชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขุดเจาะเอง โดยขออนุญาตกับทางราชการ มีจำนวน 210 บ่อ แยกเป็น (๑)
บ่อบาดาลใช้ในการอุปโภค-บริโภค 88 บ่อ (๒) บ่อบาดาลใช้เพื่อการเกษตร 98 บ่อ (๓) บ่อบาดาลใช้เพื่อการธุรกิจ 80 บ่อ


ประเภท

จำนวน(บ่อ)

สถานภาพ

ใช้งานได้

ชำรุด

บ่อ

ร้อยละ

บ่อ

ร้อยละ

1.บ่อบาดาลเจาะโดยหน่วยงานราชการ: กรมทรัพยากรธรณี (เดิม) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (เดิม)กรมอนามัย (เดิม) และกรมโยธาธิการ (เดิม)

1,394

1,394

100

-

-

2.บ่อบาดาลการประกอบกิจการน้ำบาดาลจังหวัดยโสธร

266

266

100

-

-

รวม

1,660

1,660

100

-

 

                                                                 ที่มา: สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร ข้อมูล ณ กันยายน 25๖1

   4) การบริหารจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดยโสธรมีปริมาณขยะเกิดขึ้นในปี 2560 รวม 232 ตัน/วันอัตราการเกิดขยะเฉลี่ย 0.50 กก./คน/วันปริมาณขยะในเขตเทศบาล 113.65 ตัน/วัน อัตราการเกิดขยะ 0.65 กก./คน/วันปริมาณขยะนอกเขตเทศบาล 118.32 ตัน/วัน อัตราการเกิดขยะ 0.20 กก./คน/วัน และปี 2561 มีปริมาณขยะเกิดขึ้น รวม 512.56 ตัน/วันโดยปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ในปี 2561 ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ อยู่ที่ร้อยละ 87.03 โดยสามารถจัดการได้จำนวน 90.36 ตัน/วัน ขณะที่ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนในปี 2561 ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ อยู่ที่ร้อยละ 69.40 โดยปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ มีจำนวน 355.72 ตัน/วัน ขณะที่ในปี พ.ศ. 2562 จังหวัดยโสธร มีประชากร 538,729 คน มีปริมาณขยะเกิดขึ้น 513.06 ตัน/วัน ขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 447.30 ตัน/วัน (๘7.18%)โดยเป็นการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำไปใช้เลี้ยงสัตว์การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การหมักในถังขยะเปียก 379.36 ตัน/วัน (73.94%) และนำไปกำจัดยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม 67.94 ตัน/วัน (13.24 %) การเก็บรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอย จังหวัดยโสธร มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 87 แห่ง (ยกเว้น อบจ.ยโสธร) ให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยในพื้นที่รับผิดชอบ 61 แห่ง ส่วนอีกจำนวน 26 แห่ง ไม่ได้ให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยและให้ประชาชนจัดการเอง
                           ปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดยโสธร พ.ศ. 2555 – 2562
                           หน่วย : ตันต่อวัน

2555

2556

2557

2558

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

236

106

130

488

162

326

245

98

147

258

104

154

2559

2560

2561

2562

   รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

รวม

233

90.3

142.7

232

113.68*

118.32*

512.56

513.06

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม * จากการสำรวจของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร        

        การกำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร มีหลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นวิธีการที่ถูกหลักสุขาภิบาลและไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ดังนี้
        (1) การกำจัดขยะมูลฝอยแบบถูกหลักวิชาการ จังหวัดยโสธรมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักวิชาการ จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองยโสธร ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วม จำนวน ๒๔ แห่ง มีปริมาณขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบกำจัดประมาณ 67.94 ตันต่อวัน โดยระยะที่ 1 เป็นระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลฝังกลบขยะ 240,000 ตัน ทำการปิดแล้ว และระยะที่ 2 เป็นระบบกำจัดแบบผสมผสาน และเป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมของจังหวัดยโสธร โดยมีเทศบาลเมืองยโสธรเป็นหน่วยงานทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยเก็บค่าธรรมเนียมอัตราตันละ 600 บาท
          (2) ระบบกำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน จำนวน 1 แห่ง คือเทศบาลตำบลกุดชุมพัฒนามีระบบกำจัดขยะมูลฝอยประกอบด้วย การคัดแยกวัสดุรีไซเคิล ระบบการล้างถุงพลาสติกการหมักทำปุ๋ยหมักอัดเม็ด การทำน้ำหมักชีวภาพ การเผาในเตาเผาขนาดเล็กและฝังกลบแบบมีการควบคุม
        (3) การกำจัดแบบไม่ถูกหลักวิชาการ
 โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังมีการกำจัดขยะที่ยังไม่ถูกหลักวิชาการ จำนวน 36 อปท. รวม 45 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้วิธีการเทกอง/เผากลางแจ้ง และการฝังกลบโดยใช้ดินกลบเป็นครั้งคราว และเผาในเตาเผาขนาดเล็ก
        (4) การดำเนินการแบบให้ชุมชนกำจัดเอง
 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กที่มีปริมาณขยะไม่มาก ให้ชุมชนจัดการเองในระดับครัวเรือน โดยที่ท้องถิ่นไม่ต้องจัดหาถังขยะ รถเก็บขนขน และหาสถานที่กำจัด โดยมีจำนวน 26 แห่ง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ใช้วิธีการคัดแยกและใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและกำจัดโดยวิธีการเผาเป็นครั้งคราว การจัดการขยะตกค้างสะสม จังหวัดยโสธรมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบและเทกองกลางแจ้ง 4๑ แห่ง ในเดือนตุลาคม 2559 มีปริมาณขยะตกค้างสะสม 8,278 ตัน จังหวัดยโสธร(มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระดับจังหวัด) ได้สั่งการให้ อปท. ทำการฝังกลบขยะตกค้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2559 ซึ่ง อปท. ได้รายงานให้ทราบว่าได้ดำเนินการฝังกลบขยะตกค้างสะสมทั้งหมดแล้ว ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดการจัดการขยะมูลฝอย ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตัวชี้วัด การจัดการขยะมูลฝอย 2 ตัวย่อย
- ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่นำกลับมาใช้ใหม่ ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง

ปี

ประชากร
(คน)

ปริมาณขยะ
(ตัน/วัน)

นำมาใช้ประโยชน์
(ตัน/วัน)

จัดการถูกต้อง
(ตัน/วัน)

กำจัดถูกต้อง
(ตัน/วัน)

กำจัดไม่ถูกต้อง
(ตัน/วัน)

2561

537,673

512.56

355.62
(69.40%)

446.08
(87.03%)

90.36
(17.63%)

66.48
(12.97%)

2562

538,729

513.06

379.36
(73.94%)

447.3
(87.18%)

67.94
(13.24%)

41.08
12.82%

ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด ปี 2562 (ร้อยละ)

73.29

87.03

-

-

ผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือน
(ร้อยละ)

73.94

87.18

-

-

ผ่าน

ผ่าน

   

ข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง

ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน(เขตพัฒนาที่ดิน)ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 สถานที่ก่อสร้าง บ้านผือ หมู่ที่ 5 บ้านม่วงอ่อน หมู่ที่ 8 ตำบลดู่ทุ่ง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เป้าหมาย 330 ไร่ เลขที่แบบ พด.4ยส.1/2567 ด้วยวิธี
22 Downloads
574.45 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.ห้วยแก้ง อ.กุดชุม จ.ยโสธร จำนวน 24 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
5 Downloads
264.69 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร จำนวน 22 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
1 Downloads
416.81 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.สร้างมิ่ง อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร จำนวน 23 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
3 Downloads
279.72 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร จำนวน 23 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
9 Downloads
268.62 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.ห้องแซง อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร จำนวน 23 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
2 Downloads
253.51 KB

ข่าวสารกรมพัฒนาที่ดิน

เอกสารวิชาการ / เผยแพร่

ดาวน์โหลด เอกสารเผยแพร่

ลำดับที่รายละเอียดวันที่เผยแพร่ดาวน์โหลด
1 เเบบฟอร์มการของเเหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 26 พฤศจิกายน 2562
2 โปสเตอร์ 3 ปัจจัย 4 มาตรการ 5 ขั้นตอน เพื่อรับมือ ภัยเเล้ง กรมพัฒนาที่ดิน 30 มกราคม 2563
3 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.1 17 มีนาคม 2563
4 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.2 17 มีนาคม 2563
5 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.3 17 มีนาคม 2563
6 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.6 17 มีนาคม 2563
7 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.7 17 มีนาคม 2563

Info พืชเศรษฐกิจ A4

ค่านิยมองค์กร

ขอบเขตรับผิดชอบ ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน

ฝ่ายวิชาการที่ 1
sect 1
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอเมืองยโสธร / อำเภอทรายมูล
ฝ่ายวิชาการที่ 2
sect 2
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอมหาชนะชัย อำเภอค้อวัง
ฝ่ายวิชาการที่ 3
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ
ฝ่ายวิชาการที่ 4
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอเลิงนกทา
ฝ่ายวิชาการที่ 5
sect 5
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ฝ่ายวิชาการที่ 6
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอป่าติ้ว

วีดีโอ องค์ความรู้

button youtube