1.7 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.7 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       1) ทรัพยากรป่าไม้ เว็บไซต์กรมป่าไม้ และเว็บไซต์สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้เผยแพร่ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้แปลตีความจากภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ. 2561 ปรากฏว่าพื้นที่ป่าไม้แปลตีความจากภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ. 2561 ของจังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ 225,367.61 ไร่ หรือร้อยละ 8.73 ของพื้นที่จังหวัด ลดลงจาก ปี พ.ศ. 2560 ที่มีเนื้อที่ 236,104.08 ไร่

ปี พ.ศ.

2556

2557

2558

2559

2560

2561

เนื้อที่ป่า (ไร่)  

215,303.80 

250,526.97 

 250,339.95 

246,723.85 

236,104.08

225,367.61

ร้อยละของ พ.ท.จังหวัด 

8.34 

9.71 

9.70 

9.56 

9.14

8.73

                                                         ที่มา : กรมป่าไม้ http://forestinfo.forest.go.th/
     2) ทรัพยากรดิน ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน (http://www.ldd.go.th) ชุดดินยโสธรเป็นกลุ่มชุดดินที่ 35 เป็นดินที่เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินเป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนแดงเข้มดินล่างเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีแดงปนเหลืองหรือสีแดง ลึกลงไปเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวปนทราย สีแดงหรือสีแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0)ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายความอุดมสมบูรณ์ต่ำควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดินและทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช
    3) ทรัพยากรน้ำ
3.1) แหล่งน้ำธรรมชาติ ในพื้นที่จังหวัดยโสธรมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำชีไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดบริเวณอำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัยและอำเภอค้อวัง (ยาว 110 กิโลเมตร) ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี 
            นอกจากนี้ ยังมีลำห้วยสำคัญ ๆ ไหลผ่านพื้นที่ตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัด เช่น ห้วยสะแบก ห้วยลิงโจน ลำห้วยโพง ลำเซบาย ลำน้ำยัง ลำน้ำทวน และแหล่งน้ำอื่น ๆ เช่น หนอง บึง มีอยู่ทั่วไป ซึ่งหลายแห่งมีสภาพตื้นเขิน เก็บกักน้ำได้ปริมาณน้อย เป็นปัญหาค่อนข้างมาก
                                                                   ตารางแสดงลุ่มน้ำหลัก และลุ่มน้ำย่อยในจังหวัดยโสธร

ที่

ลุ่มน้ำย่อย

ลุ่มน้ำหลัก

พื้นที่รับน้ำ
(ตร.กม.)

ปริมาณน้ำท่า
(ล้านลบ.ม.)

อำเภอในเขตลุ่มน้ำ

พื้นที่ในลุ่มน้ำ
(ตร.กม.)

1

ลำห้วยทม

โขง

180.00

66.01

เลิงนกทา

70.89

2

ลำน้ำยัง

ชี

4,145.00

228.39

กุดชุม,ทรายมูล,เมือง

398.87

3

ลำทวน

ชี

450.00

215.86

ทรายมูล,เมือง

450.00

4

ลำน้ำชี

ชี

1,260.00

1,087.23

เมือง,คำเขื่อนแก้ว,มหาชนะชัย,ค้อวัง

926.00

5

ลำเซบาย

มูล

3,050.00

1,200.92

เลิงนกทา,ไทยเจริญ,ป่าติ้,  คำเขื่อนแก้ว

1,302.77

6

ห้วยโพง

เซบาย/มูล

939.00

949.60

เลิงนกทา,ไทยเจริญ,กุดชุม,เมือง,ป่าติ้ว,คำเขื่อนแก้ว

939.00

7

ห้วยน้ำเค็ม

เสียว/มูล

70.91

68.02

มหาชนะชัย

73.91

 

รวม

 

10,094.91

3,816.03

 

4,161.44

                                             ที่มา : โครงการชลประทานยโสธร
           3.2) โครงการชลประทาน  จังหวัดยโสธรโครงการชลประทานขนาดกลาง มี 3 แห่ง คือ
                    - อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน อยู่ในตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา ความจุ 21 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 14,544 ไร่
                    - อ่างเก็บน้ำห้วยสะแบก อยู่ในตำบลบุ้งค้า อำเภอเลิงนกทา ความจุ 30.3 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 12,672 ไร่
                     - อ่างเก็บน้ำห้วยโพง (ตอนบน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลศรีแก้ว อำเภอเลิงนกทา ความจุ ๑๒.๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตรโดยพื้นที่แต่ละอำเภอจะมีอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่ดังนี้

ลำดับ

อำเภอ

แหล่งน้ำ (แห่ง)

พื้นที่แหล่งน้ำรวม (ไร่)

แหล่งน้ำสำคัญในพื้นที่อำเภอ

1

เมืองยโสธร

121

13,281

อ่างเก็บน้ำบ้านโนนจำปา, อ่างเก็บน้ำบ้านเดิด,อ่างเก็บน้ำห้วยขี้นาก, อ่างเก็บน้ำฝายลำห้วยทวน

2

กุดชุม

87

2,412

อ่างเก็บน้ำบ้านหนองเรือ,อ่างเก็บน้ำสระประปา, อ่างเก็บน้ำหนองคำบาก

3

ทรายมูล

4

61

 

4

ไทยเจริญ

57

844

อ่างเก็บน้ำหนองฆ่า,อ่างเก็บน้ำสระพรแก้ว,อ่างเก็บน้ำหนองม้า

5

เลิงนกทา

89

9,087

อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน,อ่างเก็บน้ำห้วยสะแบก,อ่างเก็บน้ำห้วยโพง,อ่างเก็บน้ำห้วยยาง
อ่างเก็บน้ำสระหลวง,อ่างเก็บน้ำหนองบึง

6

ป่าติ้ว

70

5,130

อ่างเก็บน้ำห้วยขาม, อ่างเก็บน้ำหนองหาญ,อ่างเก็บน้ำห้วยนายาง

7

คำเขื่อนแก้ว

58

3,067

อ่างหนองเสียว, หนองแวง,อ่างเก็บน้ำบ้านปักแฮด,อ่างเก็บน้ำห้วยยาง

8

มหาชนะชัย

17

326

อ่างเก็บน้ำหนองปลาปึ่ง,บึงพระเสาร์,หนองขาม

9

ค้อวัง

49

3,047

หนองกุดต่าย,หนองห้วยพระบาง

 

รวม

552

37,255

 

                                                            ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร

                  จังหวัดยโสธรมีโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า รวม 86 แห่ง รวมเนื้อที่โครงการฯ 200,910ไร่แยกเป็น ขนาดเล็ก 83 แห่ง และขนาดกลาง 3 แห่ง โดยสูบน้ำจากแม่น้ำชี ลำน้ำยัง ลำห้วยโพง/เซบาย
            3.3) แหล่งน้ำใต้ดิน จังหวัดยโสธรมีบ่อบาดาล รวมทั้งสิ้น 1,660 บ่อ แยกดังนี้ 
                          3.3.1) บ่อบาดาลขุดเจาะโดยหน่วยงานราชการ รวม ๑,394 บ่อ ใช้งานได้ 1,394 บ่อ ชำรุด - บ่อ                 
                          3.3.2) บ่อบาดาลการประกอบกิจการน้ำบาดาลจังหวัดยโสธร เป็นบ่อบาดาลที่ผู้ประกอบการเอกชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขุดเจาะเอง โดยขออนุญาตกับทางราชการ มีจำนวน 210 บ่อ แยกเป็น (๑)
บ่อบาดาลใช้ในการอุปโภค-บริโภค 88 บ่อ (๒) บ่อบาดาลใช้เพื่อการเกษตร 98 บ่อ (๓) บ่อบาดาลใช้เพื่อการธุรกิจ 80 บ่อ


ประเภท

จำนวน(บ่อ)

สถานภาพ

ใช้งานได้

ชำรุด

บ่อ

ร้อยละ

บ่อ

ร้อยละ

1.บ่อบาดาลเจาะโดยหน่วยงานราชการ: กรมทรัพยากรธรณี (เดิม) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (เดิม)กรมอนามัย (เดิม) และกรมโยธาธิการ (เดิม)

1,394

1,394

100

-

-

2.บ่อบาดาลการประกอบกิจการน้ำบาดาลจังหวัดยโสธร

266

266

100

-

-

รวม

1,660

1,660

100

-

 

                                                                 ที่มา: สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร ข้อมูล ณ กันยายน 25๖1

   4) การบริหารจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดยโสธรมีปริมาณขยะเกิดขึ้นในปี 2560 รวม 232 ตัน/วันอัตราการเกิดขยะเฉลี่ย 0.50 กก./คน/วันปริมาณขยะในเขตเทศบาล 113.65 ตัน/วัน อัตราการเกิดขยะ 0.65 กก./คน/วันปริมาณขยะนอกเขตเทศบาล 118.32 ตัน/วัน อัตราการเกิดขยะ 0.20 กก./คน/วัน และปี 2561 มีปริมาณขยะเกิดขึ้น รวม 512.56 ตัน/วันโดยปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน ในปี 2561 ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ อยู่ที่ร้อยละ 87.03 โดยสามารถจัดการได้จำนวน 90.36 ตัน/วัน ขณะที่ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนในปี 2561 ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ อยู่ที่ร้อยละ 69.40 โดยปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ มีจำนวน 355.72 ตัน/วัน ขณะที่ในปี พ.ศ. 2562 จังหวัดยโสธร มีประชากร 538,729 คน มีปริมาณขยะเกิดขึ้น 513.06 ตัน/วัน ขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง 447.30 ตัน/วัน (๘7.18%)โดยเป็นการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำไปใช้เลี้ยงสัตว์การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การหมักในถังขยะเปียก 379.36 ตัน/วัน (73.94%) และนำไปกำจัดยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม 67.94 ตัน/วัน (13.24 %) การเก็บรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอย จังหวัดยโสธร มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 87 แห่ง (ยกเว้น อบจ.ยโสธร) ให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยในพื้นที่รับผิดชอบ 61 แห่ง ส่วนอีกจำนวน 26 แห่ง ไม่ได้ให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยและให้ประชาชนจัดการเอง
                           ปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดยโสธร พ.ศ. 2555 – 2562
                           หน่วย : ตันต่อวัน

2555

2556

2557

2558

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

236

106

130

488

162

326

245

98

147

258

104

154

2559

2560

2561

2562

   รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

ในเขตเทศบาล

นอกเขตเทศบาล

รวม

รวม

233

90.3

142.7

232

113.68*

118.32*

512.56

513.06

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม * จากการสำรวจของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร        

        การกำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร มีหลากหลายรูปแบบทั้งที่เป็นวิธีการที่ถูกหลักสุขาภิบาลและไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ดังนี้
        (1) การกำจัดขยะมูลฝอยแบบถูกหลักวิชาการ จังหวัดยโสธรมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักวิชาการ จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองยโสธร ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำขยะมูลฝอยมากำจัดร่วม จำนวน ๒๔ แห่ง มีปริมาณขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบกำจัดประมาณ 67.94 ตันต่อวัน โดยระยะที่ 1 เป็นระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลฝังกลบขยะ 240,000 ตัน ทำการปิดแล้ว และระยะที่ 2 เป็นระบบกำจัดแบบผสมผสาน และเป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมของจังหวัดยโสธร โดยมีเทศบาลเมืองยโสธรเป็นหน่วยงานทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยเก็บค่าธรรมเนียมอัตราตันละ 600 บาท
          (2) ระบบกำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน จำนวน 1 แห่ง คือเทศบาลตำบลกุดชุมพัฒนามีระบบกำจัดขยะมูลฝอยประกอบด้วย การคัดแยกวัสดุรีไซเคิล ระบบการล้างถุงพลาสติกการหมักทำปุ๋ยหมักอัดเม็ด การทำน้ำหมักชีวภาพ การเผาในเตาเผาขนาดเล็กและฝังกลบแบบมีการควบคุม
        (3) การกำจัดแบบไม่ถูกหลักวิชาการ
 โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ยังมีการกำจัดขยะที่ยังไม่ถูกหลักวิชาการ จำนวน 36 อปท. รวม 45 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้วิธีการเทกอง/เผากลางแจ้ง และการฝังกลบโดยใช้ดินกลบเป็นครั้งคราว และเผาในเตาเผาขนาดเล็ก
        (4) การดำเนินการแบบให้ชุมชนกำจัดเอง
 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กที่มีปริมาณขยะไม่มาก ให้ชุมชนจัดการเองในระดับครัวเรือน โดยที่ท้องถิ่นไม่ต้องจัดหาถังขยะ รถเก็บขนขน และหาสถานที่กำจัด โดยมีจำนวน 26 แห่ง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ใช้วิธีการคัดแยกและใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและกำจัดโดยวิธีการเผาเป็นครั้งคราว การจัดการขยะตกค้างสะสม จังหวัดยโสธรมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบและเทกองกลางแจ้ง 4๑ แห่ง ในเดือนตุลาคม 2559 มีปริมาณขยะตกค้างสะสม 8,278 ตัน จังหวัดยโสธร(มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยระดับจังหวัด) ได้สั่งการให้ อปท. ทำการฝังกลบขยะตกค้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2559 ซึ่ง อปท. ได้รายงานให้ทราบว่าได้ดำเนินการฝังกลบขยะตกค้างสะสมทั้งหมดแล้ว ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดการจัดการขยะมูลฝอย ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตัวชี้วัด การจัดการขยะมูลฝอย 2 ตัวย่อย
- ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่นำกลับมาใช้ใหม่ ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง

ปี

ประชากร
(คน)

ปริมาณขยะ
(ตัน/วัน)

นำมาใช้ประโยชน์
(ตัน/วัน)

จัดการถูกต้อง
(ตัน/วัน)

กำจัดถูกต้อง
(ตัน/วัน)

กำจัดไม่ถูกต้อง
(ตัน/วัน)

2561

537,673

512.56

355.62
(69.40%)

446.08
(87.03%)

90.36
(17.63%)

66.48
(12.97%)

2562

538,729

513.06

379.36
(73.94%)

447.3
(87.18%)

67.94
(13.24%)

41.08
12.82%

ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด ปี 2562 (ร้อยละ)

73.29

87.03

-

-

ผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือน
(ร้อยละ)

73.94

87.18

-

-

ผ่าน

ผ่าน