งานประชาสัมพันธ์ / กิจกรรม

สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด เลขที่ 9 หมู่ที่ 21 ถ.ปัทมานนท์ ต.สระคู อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45130 โทร:043-626909 โทรสาร:043-626910
*
ข้าราชการ

officer 1
ลูกจ้างประจำ


 
พนักงานราชการ


 
Under Cont
Under Cont

คำขวัญของจังหวัดร้อยเอ็ด

“สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี

มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ”

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด

ตราประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วยสัญลักษณ์รูปบึงพลาญชัยศาลหลักเมือง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตัวเลข ๑๐๑ และรวงข้าวหอมมะลิ

พลาญชัย เป็นบึงน้ำใสสะอาดตั้งอยู่กลางเมือง บ่งบอกว่าประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมีน้ำใจโอบอ้อมอารี รักความสงบและมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์  

ศาลหลักเมือง เป็นที่เคารพสักการะและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล บ่งบอกถึงความเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง

ตัวเลข ๑๐๑ แสดงถึงเป็นเมืองใหญ่ในอดีตที่ชื่อสาเกตนครและเป็นจังหวัดเดียวที่สามารถเขียนชื่อเมืองเป็นตัวเลขได้

รวงข้าวหอมมะลิ เป็นผลิตผลทางการเกษตรชั้นเลิศที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ด

ธงประจำจังหวัด

พื้นธงเป็นสีเหลือง ตรงกลางมีตราประจำจังหวัด รูปศาลหลักเมืองบนเกาะกลางบึงพลาญชัย

พระพุทธรูปประจำจังหวัดร้อยเอ็ด

“พระพุทธมิ่งมงคล” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดความสูงรวมฐาน 60 เซนติเมตร ฐานสูง 8 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 35 เซนติเมตร แบบศิลปะรัตนโกสินทร์ ช่างพื้นถิ่นอีสาน ทำจากโลหะผสมทองแดง พุทธลักษณะ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่งเป็นสัน ปลายบานเล็กน้อย มีไรพระศก เม็ดพระศกแหลมเล็ก ห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยมปลายตกแต่งเป็นลายกลีบบัวยาวเหนือพระนาภี ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานเขียงมีจารึกอักษรธรรมอีสาน จำนวน 3 บรรทัด ที่หน้าฐาน ความว่า “ศักราช 2 พัน 367 พระสัสสา ปีฮับเป้า เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ 4 มหาราชครูเจ้าทั้ง 2 วัดกลางเมืองร้อยเอ็ด ทั้งอันเตวาสิก แลมหาราชเจ้า แลกรมการ แล อุปาสก อุปาสิกา พร้อมกันหล่อพระพุทธเจ้าไว้เพื่อเป็นที่ไหว้ แลบูชาแก่คน แลเทพยดาทั้งหลาย”

ต้นไม้ประจำจังหวัด

อินทนิลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่สูงประมาณ 50 ฟุต ลำต้นตรงเปลือกค่อนข้างดำหรือน้ำตาลมีตะคระขรุขระกิ่งแผ่กว้างใบมาแกมขอบขนานยาวประมาณ 10 นิ้วเนื้อใบหนาเป็นมันดอกออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งช่อตั้งตรงดอกมีทั้งสีม่วงม่วงแกมชมพูกลีบรองดอกติดกันเป็นรูปถ้วยปลายแยกเป็น 6 แฉกผลรูปไข่เกลี้ยงยาวประมาณ 9 นิ้วออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงมิถุนายนการขยายพันธุ์ใช้วิธีเพาะเมล็ด

 
 
ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัดยโสธร
1.1 ความเป็นมา

            เมืองยโสธร เป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟ เป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า 200 ปี ยโสธรมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภูนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้ว บัวบาน และเกี่ยวพันกับเมืองอุบลฯ ในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร ได้พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จากยุคประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ชุมชนโบราณส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตทุ่งราบโล่งหรือบริเวณขอบชายทุ่ง ติดกับพื้นที่โคกและป่า ได้แก่ ชุมชนโบราณชายขอบทุ่งกุลาร้องไห้ ในเขตอำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง เช่น ชุมชนโบราณที่บ้านหัวเมือง บ้านคูเมือง บ้านคูสองชั้น ในเขตอำเภอมหาชนะชัย ชุมชนโบราณบ้านน้ำอ้อม บ้านโพนแพง บ้านหมากมาย บ้านแข้ บ้านโพนเมือง ในเขตอำเภอค้อวัง ประมาณปี พ.ศ.2314 พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจ เจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกันพระเจ้าศิริบุญสารซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์ มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง 2 ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำเจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสู ผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำปาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่าค่ายบ้านดู่บ้านแก
            พ.ศ. 2354 เจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาพิชัยราชขัตติยวงศา กลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
            พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า เมืองยศสุนทร ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า พระสุนทรราชวงศา เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร คำว่า ยศสุนทร ต่อมากลายเป็น ยะโสธร มีความหมาย ว่า ทรงไว้ซึ่งยศ แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า ยะโส ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. 2500 – 2513) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น “ยโสธร” และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เมืองยโสธรก็ได้รับเกณฑ์เข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วยได้ชัยชนะ ได้รับพระราชทานเชลยเมืองเวียงจันทน์ 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองหนึ่งกระบอกชื่อว่า ปืนนางป้อง ยังปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระสุนทรราชวงศาเห็นได้เป็นเจ้าเมืองแล้ว ได้นำศิลาจากบ้านแก้งหินโงมมาสร้างพระพุทธบาทจำลอง แล้วสร้าง วัดป่าอัมพวัน และวัดกลางศรีไตรภูมิไว้เป็นวัดคู่เมือง
            ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2417 ได้เกิดศึกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองหนองคาย เมืองยโสธรถูกเกณฑ์ให้ยกกำลังไปสมทบ กองทัพจากกรุงเทพ ฯ เป็นจำนวน 500 คน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2426 พวกฮ่อได้ยกกำลังมาตั้งอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ เมืองยโสธรได้รับเกณฑ์ให้เอากำลังช้างม้าโคต่าง ๆ ไปเป็นพาหนะบรรทุกเสบียงไปเลี้ยงกองทัพ พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า กอง สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ  มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง 12 หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
            ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้ยกกำลังจากเมืองญวนมาตีเมืองสมโบกของไทย เมืองยโสธรได้ถูกเกณฑ์ให้ไปช่วยรักษาเขตแดน โดยนำกำลังไปสมทบกองทัพจากกรุงเทพ ฯ สามกองทัพ กองทัพละ 1,000 คน
            พ.ศ. 2443 ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร
            ในปี พ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยยโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว เปลี่ยนชื่ออำเภอปจิมยโสธร เป็นอำเภอยโสธร เมืองยโสธร จึงลดฐานะจากเมืองมาเป็นอำเภอ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

            พ.ศ. 2494 กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว และ ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย
 

ข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง

ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่ลุ่ม-ดอน(เขตพัฒนาที่ดิน)ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 สถานที่ก่อสร้าง บ้านผือ หมู่ที่ 5 บ้านม่วงอ่อน หมู่ที่ 8 ตำบลดู่ทุ่ง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เป้าหมาย 330 ไร่ เลขที่แบบ พด.4ยส.1/2567 ด้วยวิธี
21 Downloads
574.45 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.ห้วยแก้ง อ.กุดชุม จ.ยโสธร จำนวน 24 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
5 Downloads
264.69 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร จำนวน 22 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
1 Downloads
416.81 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.สร้างมิ่ง อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร จำนวน 23 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
3 Downloads
279.72 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร จำนวน 23 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
9 Downloads
268.62 KB
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ในพื้นที่ ต.ห้องแซง อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร จำนวน 23 บ่อ พร้อมป้ายโครงการ ปีงบประมาณ 2567 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
2 Downloads
253.51 KB

ข่าวสารกรมพัฒนาที่ดิน

เอกสารวิชาการ / เผยแพร่

ดาวน์โหลด เอกสารเผยแพร่

ลำดับที่รายละเอียดวันที่เผยแพร่ดาวน์โหลด
1 เเบบฟอร์มการของเเหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 26 พฤศจิกายน 2562
2 โปสเตอร์ 3 ปัจจัย 4 มาตรการ 5 ขั้นตอน เพื่อรับมือ ภัยเเล้ง กรมพัฒนาที่ดิน 30 มกราคม 2563
3 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.1 17 มีนาคม 2563
4 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.2 17 มีนาคม 2563
5 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.3 17 มีนาคม 2563
6 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.6 17 มีนาคม 2563
7 โปสเตอร์ สารเร่ง พด.7 17 มีนาคม 2563

Info พืชเศรษฐกิจ A4

ค่านิยมองค์กร

ขอบเขตรับผิดชอบ ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน

ฝ่ายวิชาการที่ 1
sect 1
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอเมืองยโสธร / อำเภอทรายมูล
ฝ่ายวิชาการที่ 2
sect 2
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอมหาชนะชัย อำเภอค้อวัง
ฝ่ายวิชาการที่ 3
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ
ฝ่ายวิชาการที่ 4
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอเลิงนกทา
ฝ่ายวิชาการที่ 5
sect 5
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว
ฝ่ายวิชาการที่ 6
รับผิดชอบพื้นที่ อำเภอป่าติ้ว

วีดีโอ องค์ความรู้

button youtube